วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

การล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกในเอเชีย


การขยายอิทธิพลของประเทศต่างๆ


โปรตุเกส โปรตุเกสเป็นชาติแรกที่สามารถแล่นเรือจากยุโรปมายังอินเดีย โดยอ้อมแหลมแอฟริกามาถึงเมืองกาลิกูฏในอินเดียเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2041 ต่อมาได้เข้ายึดครองเมืองกัว ในอินเดีย ศรีลังกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ใน พ.ศ. 2054 โปรตุเกสยึดมะละกาซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าเครื่องเทศที่สำคัญในสมัยนั้น โปรตุเกสประสบความสำเร็จในการค้าเครื่องเทศ จึงขยายอำนาจของตนเข้าไปในดินแดนหมู่เกาะของประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน เช่น หมู่เกาะโมลุกกะหรือหมู่เกาะเครื่องเทศ และสร้างความยิ่งใหญ่ทางด้านกองทัพเรือ สามารถทำลายระบบการค้าแบบผูกขาดของชาติอาหรับได้สำเร็จ และได้ผูกขาดการค้าในภูมิภาคนี้แทนอาหรับ รวมทั้งได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในทางการเมืองของอาณาจักรต่างๆ เช่น เป็นทหารอาสาสมัครในกองทัพไทยและพม่า เผยแพร่ความรู้ทางวิทยาการแก่ชาวพื้นเมืองโดยเฉพาะด้านการทหารแบบสมัยใหม่ นอกจากนั้นโปรตุเกสยังส่งมิชชันนารีเผยแพร่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และญี่ปุ่น เป็นต้น

สเปน สเปนได้ส่งนักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่ ชื่อ แมกเจลแลน นำกองเรือออกจากสเปนอ้อมทวีปอเมริกาเข้ามหาสมุทรแปซิฟิกมาถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2064 ต่อมาเกิดขัดแย้งกับชาวพื้นเมืองถึงขั้นสู่รบกัน แมกเจลแลนถูกฆ่าตาย ลูกเรือที่เหลือจึงนำเรือหนีออกจากฟิลิปปินส์เดินทางกลับผ่านช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย อ้อมแหลมแอฟริกากลับไปถึงสเปนได้สำเร็จ นับเป็นการเดินทางโดยทางเรือรอบโลกได้สำเร็จเป็นครั้งแรก

ฮอลันดา ฮอลันดาจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออก เพื่อค้าขายและขยายอำนาจในดินแดนโพ้นทะเล ฮอลันดาสนใจการค้าเครื่องเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะหมู่เกาะอินดัสตะวันออกหรือหมู่เกาะอินโดนีเซียในปัจจุบันซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยเครื่องเทศ เรือสินค้าฮอลันดสพร้อมด้วยเรือรบคุ้มครองได้ขยายอำนาจในอินโดนีเซียด้วยการค้าขายกับชาวพื้นเมือง พร้อมทั้งถือโอกาสเข้าแทรกแซงทางการเมืองด้วยการช่วยเหลือทางทหารแก่สุลต่านซึ่งเป็นผู้ปกครองเกาะ 
อังกฤษ อังกฤษจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกเพื่อค้าขายในดินแดนโพ้นทะเล และเข้ามาค้าขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายหลังฮอลันดา 5 ปี ในระยะแรกพ่อค้าอังกฤษไม่สามารถค้าขายแข่งขันกับฮอลันดาได้ ประกอบกับกองทัพเรืออังกฤษยังไม่เข้มแข็งเท่าฮอลันดา อังกฤษจึงต้องถอนตัวออกจากการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปช่วงระยะหนึ่ง
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศสจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกเพื่อทำหน้าที่ค้าขายและขยายอำนาจ เช่นเดียวกับอังกฤษและฮอลันดา นอกจากฝรั่งเศสสนใจการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ฝรั่งเศสยังสนใจเผยแผ่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก เช่นเดียวกับโปรตุเกสและสเปนอีกด้วย


แผนที่ประเทศไทยสร้างโดยนักภูมิศาสตร์ชาวฝรั่งเศส
ที่เดินทางมาอยุธยา พ.ศ. 2229 สมัยจักรวรรดินิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นไป ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยจักรวรรดินิยม เพราะชาติตะวันตกเริ่มเปลี่ยนแปลงนโยบายจากเดิมที่มุ่งติดต่อค้าขายและเผยแผ่ศาสนา มาเป็นการมุ่งยึดครองและเข้าปกครองดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะเป็นดินแดนอาณานิคม ทั้งนี้เพราะปัจจัยสำคัญ ดังนี้
1.ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมทำให้ชาติตะวันตกสามารถผลิตสินค้าใหม่ๆ ได้เป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องขยายตลาดการค้าและแหล่งวัตถุดิบให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
2.ประเทศต่างๆ ในยุโรปเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจมาเป็นแบบทุนนิยม รัฐบาลมีหน้าที่ส่งเสริมบริษัทเอกชนเข้าไปลงทุนในดินแดนอาณานิคม ดังนั้นรัฐบาลจึงจำเป็นต้องเข้าไปปกครองอาณานิคมโดยตรง เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของบริษัทเอกชน และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในอาณานิคมส่งกลับไปบำรุงเมืองแม่
3.ความเจริญก้าวหน้าทางด้านการคมนาคมขนส่งทางเรือ โดยเฉพาะการใช้เรือกลไฟบรรทุกสินค้าข้ามทวีป ตลอดจนความสำเร็จในการขุดคลองสุเอซ ทำให้เรือสินค้าสามารถแล่นติดต่อระหว่างยุโรปกับเอเชียได้อย่างรวดเร็ว เพราะไม่ต้องแล่นเรืออ้อมแหลมแอฟริกาเหมือนแต่ก่อน ทำให้สินค้าราคาถูก เศรษฐกิจโลกขยายตัวอย่างรวดเร็ว เป็นการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมส่งผลให้เกิดลัทธิจักรวรรดินิยมตามมา
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24-25 มหาอำนาจตะวันตกได้เข้ามายึดครองหรือคุกคามดินแดนต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนี้
อังกฤษ
พม่า ใน พ.ศ. 2367 อินเดียซึ่งอยู่ใต้อิทธิพลอังกฤษเกิดวิวาทกับพม่าเกี่ยวกับปัญหาชายแดน จนนำไปสู่การทำสงครามระหว่างพม่ากับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ อังกฤษเป็นฝ่ายชนะและได้ยึดครองดินแดนพม่าตอนล่างในระหว่าง พ.ศ. 2393-2396 พม่าเกิดเหตุวิวาทกับอังกฤษอีก มีผลทำให้อังกฤษยึดครองตอนกลางของพม่าได้ใน พ.ศ. 2405 อังกฤษรวมดินแดนของพม่าที่ยึดได้เป็นมณฑล พม่าอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษโดยใช้กรุงย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงใน พ.ศ. 2417 อังกฤษได้ผนวกดินแดนพม่าที่ยังเหลือ และปกครองพม่าในฐานะเป็นมณฑลหนึ่งของอินเดียภายใต้การปกครองของอังกฤษ
  • คาบสมุทรมลายู รัฐต่างๆ ของมลายูมักทะเลาะวิวาทและสู้รบกันเองอยู่เสมอ เปิดโอกาสให้อังกฤษเข้าแทรกแซงทางการเมือง บางรัฐขอให้อังกฤษเข้ามาอารักขา อังกฤษได้ขอเช่าเกาะปีนังจากสุลต่านรัฐไทรบุรีหรือเกดะห์เป็นศูนย์กลางการค้า และให้ความคุ้มครองแก่สุลต่านผู้ปกครองรัฐมลายู จึงตกอยู่ใต้อิทธิพลของอังกฤษเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ใน พ.ศ. 2439 อังกฤษได้รวมเประ สลังงอร์ ปะหัง และเนกรีเซมบีลัน เป็นสหพันธรัฐมลายูภายใต้การปกครองของอังกฤษ
    นอกจากนี้อังกฤษยังได้ครอบครองเกาะสิงคโปร์ และสร้างสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการค้าและฐานทัพสำคัญของอังกฤษเพื่อควบคุมผลประโยชน์ในเอเชียตะวันออก
  • ไทย ในช่วงเวลาเดียวกันอังกฤษได้เริ่มคุกคามไทยด้วยการส่ง เฮนรี เบอร์นี (Henry Burney) เป็นทูตมาเจรจาเกี่ยวกับรัฐต่างๆ บนคาบสมุทรมลายู ชัยชนะที่อังกฤษมีต่อพม่า ทำให้ไทยตระหนักว่าอังกฤษมีอำนาจทางทหารเหนือกว่า ไทยจึงยอมรับข้อเสนอของอังกฤษใน พ.ศ. 2398 อังกฤษได้ทำสัญญาการค้าที่เรียกว่า สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง เป็นผลให้ไทยต้องเสียผลประโยชน์ทางการค้าและสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่อังกฤษ ต่อมาประเทศตะวันตกอื่นๆ ก็ได้ขอสิทธิเช่นเดียวกับอังกฤษจากไทยใน พ.ศ. 2451 ไทยต้องยอมมอบสิทธิที่มีเหนือไทรบุรี ปะลิส กลันตัน ตรังกานู ให้แก่อังกฤษแลกกับอำนาจทางการศาล เพื่อให้ไทยสามารถพิจารณาตัดสินคดีความที่คนในบังคับอังกฤษทำผิดในประเทศไทยได้
ฝรั่งเศส
  • เวียดนาม เขมร และลาว ในช่วงทศวรรษ 2360 ฝรั่งเศสพยายามติดต่อค้าขายและขอเผยแผ่คริสต์ศาสนาในเวียดนาม และได้โอกาสเพราะสนับสนุนพระเจ้ายาลอง (Gia Long) ขึ้นครองอำนาจ และรวมประเทศเวียดนามเป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ ทำให้ฝรั่งเศสได้รับสิทธิพิเศษในการเผยแผ่คริสต์ศาสนาและค้าขายในเวียดนาม แต่ต่อมากษัตริย์เวียดนามไม่โปรดปรานฝรั่งเศส และต่อต้านศาสนาคริสต์อย่างรุนแรง จึงเกิดการกระทบกระทั่งกลายเป็นสงครามซึ่งเริ่มเมื่อ พ.ศ. 2399 สงครามระหว่างสองฝ่ายดำเนินไปหลายปี จนกระทั่งฝรั่งเศสสามารถยึดเวียดนามได้ทั้งประเทศ
    สำหรับเขมร ใน พ.ศ. 2406 ฝรั่งเศสบีบบังคับให้เขมรเป็นรัฐอยู่ใต้อารักขาของฝรั่งเศส และต่อมาขอให้ไทยยุติการอ้างสิทธิเหนือเขมร หลังจากนั้นได้ใช้วิธีรุนแรงขยายอำนาจเข้าไปในดินแดนลาว ซึ่งนำไปสู่การกระทบกระทั่งกับไทยที่ปกครองลาวในฐานะประเทศราชจนเกิดวิกฤตการณ์ รศ. 112 (พ.ศ. 2436) เป็นผลให้ไทยต้องเสียดินแดนลาวให้กับฝรั่งเศส                                                                                                                                                                           เมื่อฝรั่งเศสได้เวียดนาม เขมร และลาวไว้อำนาจแล้ว ฝรั่งเศสได้รวมดินแดนทั้งหมดนี้เข้าด้วยกันเรียกว่า อินโดจีนฝรั่งเศส โดยตั้งข้าหลวงใหญ่ทำหน้าที่ปกครองขึ้นตรงต่อรัฐบาลฝรั่งเศสที่กรุงปารีส
  • ไทย ในสมัยรัชกาลที่ 4 ฝรั่งเศสเริ่มแผ่อิทธิพลเข้าไปในดินแดนประเทศราชของไทย โดยขอเข้าไปอารักขาเขมร ทางฝ่ายไทยต้องยินยอมแต่โดยดีเพราะไม่อาจต้านทานอำนาจของฝรั่งเศสได้ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ฝรั่งเศสได้ขยายอำนาจเข้าไปในดินแดนลาว ฝรั่งเศสใช้วิธีทุกอย่างทั้งวิธีการเจรจาและใช้เรือรบมาปิดปากน้ำเจ้าพระยาและคุกคามอธิปไตยของไทยใน พ.ศ. 2436 ไทยพยายามต่อต้านด้วยการใช้กำลังทหาร แต่ไม่อาจต่อต้านได้ ทำให้รัฐบาลไทยจำเป็นต้องยกดินแดนลาวทั้งหมดให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อรักษาเอกราชของชาติไว้
ฮอลันดา
หมู่เกาะอินโดนีเซียใน พ.ศ. 2367 อังกฤษกับฮอลันดาได้ตกลงแบ่งเขตอำนาจในน่านน้ำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยฮอลันดายอมยกมะละกาให้อังกฤษเพื่อแลกกับเมืองท่าที่อังกฤษมีในสุมาตรา และตกลงกันว่าอังกฤษจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับหมู่เกาะอินโดนีเซีย ส่วนฮอลันดาก็ตกลงจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับคาบสมุทรมลายู นับเป็นการแบ่งเขตอาณานิคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสองประเทศ เป็นผลให้ฮอลันดาขยายอิทธิพลในบริเวณหมู่เกาะอินโดนีเซียได้สะดวก โดยปราศจากการแข่งขันจากชาติอื่น                                                                                                                                                                                                           ใน พ.ศ. 2372 ฮอลันดาพยายามครอบครองเกาะชวาทั้งหมด หลังจากนั้นก็เริ่มใช้ ระบบเพาะปลูก บนเกาะชวาด้วยการบังคับให้ชาวชวาปลูกพืชผลที่ตนต้องการ โดยเฉพาะกาแฟซึ่งเป็นพืชที่ตลาดโลกต้องการ
สเปน
หมู่เกาะฟิลิปปินส์ สเปนยังคงเป็นผู้ปกครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์แต่ผู้เดียวอยู่เช่นเดิมโดยไม่มีมหาอำนาจอาณานิคมอื่นเข้าไปแก่งแย่ง จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2441 เกิดสงครามระหว่างสเปนกับสหรัฐอเมริกา สเปนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต้องทำสัญญายกฟิลิปปินส์ให้แก่สหรัฐอเมริกา เมื่อสหรัฐอเมริกาเข้าปกครองฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกาได้ใช้รูปแบบการปกครอง กฎหมาย เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ตามแบบอย่างที่สหรัฐอเมริกาเป็นผู้กำหนด
ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในดินแดนอาณานิคม
   การที่ชาวตะวันตกสร้างลัทธิจักรวรรดินิยมโดยเข้าไปปกครองดินแดนอาณานิคม ก่อให้เกิดผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในดินแดนอาณานิคม ดังนี้
1.ชาวตะวันตกประกาศใช้กฎหมายเพื่อเก็บภาษีประชาชนอย่างรุนแรง ยิ่งกว่าช่วงระยะที่ชาวพื้นเมืองปกครองกันเอง รายได้จากการเก็บภาษีส่วนใหญ่ผู้ปกครองอาณานิคมส่งไปบำรุงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองแม่
2.กลุ่มนายทุนชาวตะวันตกเข้ายึดครองพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ และกอบโกยทรัพยากรธรรมชาติจากดินแดนอาณานิคม แล้วนำไปแปรรูปเป็นสินค้าอุตสาหกรรมส่งไปขายทั่วโลกสร้างความร่ำรวยแก่กลุ่มนายทุนตะวันตก
3.ชาวตะวันตกบังคับและเกณฑ์แรงงานพื้นเมืองไปทำงานหนัก บังคับให้ชาวพื้นเมืองปลูกพืชตามที่ต้องการ และบังคับให้ชาวพื้นเมืองขายผลิตผลแก่พ่อค้าชาติตะวันตกในราคาถูกๆ เพื่อประโยชน์ของชนชั้นปกครองและผลประโยชน์ของบริษัทตะวันตก
4.ชาวตะวันตกได้อพยพชาวจีนจากประเทศจีนเป็นจำนวนมาก  มาทำงานเป็นลูกจ้างในสวนยางพาราและโรงงานอุตสาหกรรมของชาติตะวันตก ชาวจีนสร้างปัญหาพิพาทกับชาวพื้นเมืองในเวลาต่อมา
5.ชาวตะวันตกได้เปลี่ยนสภาพเศรษฐกิจของชาวพื้นเมืองจากรูปแบบดั้งเดิมมาเป็นแบบทุนนิยม ทำให้เกิดกิจการอุตสาหกรรมใหม่ๆ ธนาคารและระบบการกู้ยืม ทำให้ชาวพื้นเมืองมีหนี้สินและยากจนลงกว่าเดิม
6.การปกครองของชาวตะวันตกได้เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและค่านิยมของชาวพื้นเมือง ทำให้ชาวพื้นเมืองหันมารับวัฒนธรรมตะวันตกและดำเนินชีวิตแบบฟุ่มเฟือยตามแบบตะวันตก
7.ชาวตะวันตกนำรูปแบบการศึกษาและเผยแพร่ความคิดแบบสมัยใหม่  คือ ความคิดในระบบเสรีนิยมและประชาธิปไตยเป็นการกระตุ้นให้ชาวพื้นเมืองเกิดความคิด ชาตินิยม” ขึ้น
ลัทธิชาตินิยมในสหรัฐอเมริกา
   ลัทธิชาตินิยม หมายถึง ความคิดและการสร้างรูปแบบเพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า ความมีอิสระและเสรีภาพแก่ประชาชน รวมไปถึงการสร้างความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน ทำให้เกิดการรวมกลุ่มมีความคิดในการปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนและของชาติ การชื่นชมในวัฒนธรรมของชาติ และท้ายที่สุด คือความต้องการสร้างเอกราชและความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติ
   ความคิดชาตินิยมได้เริ่มขึ้นในหมู่ประชาชนฟิลิปปินส์ก่อนประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใน  พ.ศ. 2439 สเปนลงมือปราบปรามพวกชาตินิยมฟิลิปปินส์ซึ่งเรียกร้องเอกราชจากสเปน ในระยะต่อมาความคิดชาตินิยมได้แพร่หลายไปสู่ประชาชนในดินแดนอาณานิคมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
สาเหตุที่ก่อให้เกิดความคิดชาตินิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สรุปได้ ดังนี้
1.ความรู้สึกไม่พอใจระบบการปกครองของประเทศตะวันตกในดินแดนอาณานิคม ซึ่งใช้กฎหมายบังคับชาวพื้นเมืองให้ปฏิบัติตาม โดยมีจุดมุ่งหมายให้เกิดความสงบและความมั่นคงในดินแดนอาณานิคม ซึ่งเป็นผลให้ชาติตะวันตกได้รับอภิสิทธิ์และผลประโยชน์ต่างๆ เหนือกว่าชาวพื้นเมือง
2.ชาวพื้นเมืองรู้สึกหวงแหนทรัพยากรของชาติ ที่ถูกชาวตะวันตกกอบโกยไปสร้างความมั่นคงให้แก่ตนเอง
3.ชาวพื้นเมืองรู้สึกโกรธเคืองเมื่อชาวตะวันตกใช้วิธีกดขี่ ข่มเหง ดูหมิ่น เหยียดหยาม และทำลายวัฒนธรรมของชาวพื้นเมือง
4.การที่ชาวตะวันตกนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษาแบบสมัยใหม่มาเผยแพร่ในดินแดนอาณานิคม ทำให้ประชาชนเริ่มตื่นตัวในความคิดแบบสมัยใหม่ โดยเฉพาะความคิดในระบบเสรีนิยม
5.ในสมัยที่ชาวตะวันตกปกครองอาณานิคม บ้านเมืองเกิดความสงบมั่นคง ชาวพื้นเมืองมิได้รบพุ่งกันเองเหมือนแต่ก่อน ประกอบกับชาวตะวันตกนำรูปแบบการคมนาคมขนส่งสมัยใหม่ เช่น รถไฟ เรือกลไฟ  โทรเลข โทรศัพท์ มาใช้ในอาณานิคม อีกทั้งชาวตะวันตกใช้ภาษาของตนในการปกครองอาณานิคม  เช่น สหรัฐอเมริกาใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการปกครองชาวฟิลิปปินส์ เป็นต้น ปัจจัยดังกล่าวทำให้ชาวพื้นเมืองสามารถติดต่อไปมาหาสู่ หรือสื่อสารได้สะดวกรวดเร็วขึ้น
6.ชาวพื้นเมืองได้รับแนวความคิดและตัวอย่างการแสดงออกถึงความเป็นชาตินิยมจากประเทศที่อยู่นอกดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนรู้สึกชื่นชมและต้องการแสดงออกซึ่งความเป็นชาตินิยมด้วย ดังเช่น  กรณีญี่ปุ่นซึ่งมีความคิดชาตินิยมอย่างแรงกล้า พัฒนาประเทศจนก้าวไปสู่ความทันสมัยและมีความเข้มแข็งทุกด้านสามารถทำสงครามชนะรัสเซียซึ่งเป็นมหาอำนาจได้
   อีกกรณีหนึ่ง คือนักชาตินิยมจีนภายใต้การนำของ ดร. ซุน ยัตเซ็น สามารถก่อการปฏิวัติเมื่อ พ.ศ. 2454  เพื่อต่อต้านราชวงศ์แมนจู ซึ่งเป็นราชวงศ์ต่างชาติที่เข้ามาปกครองประเทศจีนในขณะนั้นได้สำเร็จ

อ้างอิงจาก

ประวิติประเทศอเมริกา




แผนที่ช่วงก่อนปฏิวัติอเมริกา โดยสีชมพูแสดงรัฐแรกทั้ง 13 รัฐ
คลัมบัส เดินเรือจากยุโรปไปทางทิศตะวันตกเพื่อหาเส้นทางเดินเรือใหม่ เขาไปเจอกับทวีปๆนึง เขาคิดว่าทวีปนั้นคืออินเดีย จนกระทั่งต่อมา ประเทศสเปนกับประเทศโปรตุเกสได้เดินทางลงใต้ ทำให้พบทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งพบทองคำเป็นจำนวนมาก ทำให้สหราชอาณาจักรและประเทศฝรั่งเศสซึ่งเดินทางไปที่หลัง จำใจต้องขึ้นไปทางทิศเหนือ อังกฤษได้ขึ้นฝั่งที่บริเวณตะวันออก แถบนิวอิงแลนด์ นิวยอร์ก ฝรั่งเศสขึ้นฝั่งที่ตอนกลาง บริเวณลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี ทั้งสองได้ต่างกันขยายอาณานิคม ทำให้ทั้งสองได้มาปะทะกันในที่สุด ทำให้เกิด สงคราม 7 ปี ในทวีปยุโรป ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายแพ้อังกฤษ ทำให้อังกฤษเข้ายึดดินแดนเดิมของฝรั่งเศส

สหรัฐอเมริกาช่วงแรก (ค.ศ. 1789 ถึง ค.ศ. 1824)

สมัยของประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน (ค.ศ. 1789 - 1797)


"ภาพวาดแลนสดาวน์" (Lansdown Portrait) ของจอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา โดย กิลเบิร์ต สจ๊วต (Gilbert Stuart)
จอร์จ วอชิงตัน ได้รับเลือกตั้งอย่างเป็นเอกฉันท์ให้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาเมื่อค.ศ. 1789 ผลงานชิ้นแรกของวอชิงตันคือการยกคำประกาศสิทธิหรือรัฐบัญญัติสิทธิ (Bill of Rights) ขึ้นเป็นมาตราในรัฐธรรมนูญ (Amendments) สิบมาตราแรกเมื่อค.ศ. 1791 อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (Secretary of Treasury) เป็นผู้วางรากฐานทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในช่วงแรก โดยการจัดตั้งธนาคารแห่งชาติสหรัฐอเมริกา การกำหนดภาษีเงินได้และภาษีศุลกากร และการส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยมุ่งเน้นการค้าขายกับสหราชอาณาจักรหรือบริเทนอดีตเจ้าอาณานิคมเป็นหลัก โดยการทำสนธิสัญญาสงบศึกและสนธิสัญญาการค้ากับบริเทน คือ สนธิสัญญาเจย์ (Jay Treaty) ในปีค.ศ. 1794 นอกจากนี้วอชิงตันยังวางระบบตุลาการของประเทศผ่านทางกฎหมายตุลาการ (Judiciary Act) ค.ศ. 1789 ให้ศาลฎีกาสูงสุดเป็นศาลสูงสุดของประเทศเหนือศาลของแต่ละรัฐ ประชาชนในรัฐเพนซิลวาเนียผู้ไม่พอใจการเก็บภาษีวิสกี้ของรัฐบาลกลางก่อการกบฏวิสกี้ (Whiskey Rebellion) ในค.ศ. 1794 ประธานาธิบดีวอชิงตันจึงเกณฑ์ไพร่พลจากรัฐต่างๆมาทำการปราบกบฏ นับเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลกลางใช้อำนาจทางทหารโดยใช้กำลังรวมจากหลายรัฐ และเป็นครั้งเดียวที่ประธานาธิบดีเป็นผู้นำทัพด้วยตนเอง

อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน ผู้วางรากฐานทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา
ในสมัยนี้เองที่เกิดความแตกแยกทางการเมืองขึ้นในหมู่ผู้นำของสหรัฐอเมริกา ฝ่ายเฟเดอรัลลิสต์ (Federalist) หรือฝ่ายสมาพันธรัฐนิยม นำโดยรัฐมนตรีการคลังอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน มีนโยบายรวมอำนาจทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจเข้าสู่รัฐบาลกลาง ส่งเสริมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกา โดยมีบริเทนเป็นแบบอย่างในทางเศรษฐกิจและการเมือง และฝ่ายรีพับบลีกัน (Republican) มีแนวคิดสาธารณรัฐนิยม (Republicanism) แบบสุดโต่ง นำโดยโธมัส เจฟเฟอร์สัน รัฐมนตรีต่างประเทศ (Secretary of State) และเจมส์ แมดิสัน (James Madison) ซึ่งมีความเห็นว่าการรวมอำนาจเข้าศูนย์กลางเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนและแต่ละรัฐ การส่งเสริมอุตสาหกรรมจะเป็นการทำลายชีวิตเกษตรกรรมของชาวอเมริกันส่วนใหญ่ในขณะนั้น และให้การสนับสนุนการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งการแตกแยกทางการเมืองออกเป็นสองฝ่ายนำไปสู่การจัดตั้งพรรคการเมืองสองพรรคแรกของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ พรรคเฟเดอรัลลิสต์ (Federalist Party) และพรรครีพับบลีกัน (Republican Party) เกิดเป็นระบบพรรคการเมืองครั้งที่หนึ่ง (First Party System) ในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ฝ่ายประธานาธิบดีวอชิงตันแม้ว่าจะสนับสนุนนโยบายของพรรคเฟเดอรัลลิสต์ แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งพรรคการเมืองเพราะเป็นการสร้างความแตกแยกภายในรัฐบาล
ประธานาธิบดีวอชิงตันดำรงตำแหน่งอยู่เป็นเวลาสองสมัย และปฏิเสธที่จะดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่สาม จนเกิดเป็นธรรมเนียมว่าประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจะอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินสองสมัย

สมัยของประธานาธิบดีจอห์น แอดัมส์ (ค.ศ. 1797 - 1801)

รองประธานาธิบดีจอห์น แอดัมส์ (John Adams) จากพรรคเฟเดอรัลลิสต์ สามารถเอาชนะโธมัส เจฟเฟอร์สันได้ในการเลือกตั้งเมื่อค.ศ. 1797 ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนที่สอง ในขณะเดียวกันนั้นเองรัฐบาลสาธารณรัฐที่หนึ่งของฝรั่งเศสหลังจากที่ทราบว่าสหรัฐอเมริกาได้มีสัมพันธ์ทางการค้ากับบริเทน ซึ่งในขณะนั้นบริเทนและฝรั่งเศสกำลังทำสงครามขับเคี่ยวกันอยู่ จึงส่งทูตชื่อว่า เอมองต์-ชาร์ลส์ เยเนต์ (Edmond-Charles Genêt) มาเพื่อทวงสัญญาพันธมิตรตั้งแต่ครั้งสงครามปฏิวัติอเมริกาและเรียกร้องให้รัฐบาลยุติความสัมพันธ์กับบริเทน แม้ว่าทูตฝรั่งเศสจะได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองและประชาชนฝ่ายรีพับบลีกันเป็นอย่างมาก แต่ประธานาธิบดีแอดัมส์และฝ่ายเฟเดอรัลลิสต์ได้ใช้การกระทำนี้ เรียกว่า เหตุการณ์เอ็กซ์วายซี (XYZ Affair) ในการตีความว่าฝรั่งเศสคุกคามอธิปไตยของสหรัฐอเมริกา เมื่อเจรจาไม่เป็นผลสำเร็จ ฝรั่งเศสจึงใช้นโยบายเข้าปล้นเรือสินค้าของสหรัฐอเมริก ทำให้สถานะความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสอยู่ในฐานะกึ่งสงคราม (Quasi-War)
รัฐบาลเฟเดอรัลลิสต์ของนายแอดัมส์เห็นว่าการที่ฝ่ายรีพับบลีกันให้การสนับสนุนฝรั่งเศสนั้นเป็นภัยต่อประเทศชาติ จึงออกกฎหมายต่างด้าวและการจลาจล (Alien and Sedition Act) ในค.ศ. 1798 ลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
ในค.ศ. 1800 ประธานาธิบดีแอดัมส์ส่งตัวแทนไปยังฝรั่งเศสเพื่อเจรจาขอสงบศึกได้เป็นผลสำเร็จ

ศควรรษที่ 19

สมัยของประธานาธิบดีโธมัส เจฟเฟอร์สัน (ค.ศ. 1801 - 1809)


โธมัส เจฟเฟอร์สัน ประธานาธิบดีคนที่สามของสหรัฐอเมริกา

แผนที่แสดงการซื้อหลุยเซียนาในค.ศ. 1803
การปกครองของรัฐบาลเฟเดอรัลลิสต์ที่กดขี่ทำให้พรรคเฟเดอรัลลิสต์มีความนิยมที่เสื่อมลง โธมัส เจฟเฟอร์สัน จากพรรครีพับบลีกัน ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีคนที่สามและสาบานตนเข้าดำรงตำแหน่งในค.ศ. 1801 ประธานาธิบดีเจฟเฟอร์สันได้ชื่อว่าเป็นผู้ส่งเสริมแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพอย่างมาก ตามหลักประชาธิปไตยแบบเจฟเฟอร์สัน (Jeffersonian Democracy) มีแนวความคิดในการตีความรัฐธรรมนูญแบบเคร่งครัดตามตัวอักษร มีนโยบายกระจายอำนาจสู่รัฐบาลของแต่ละรัฐ และส่งเสริมการเกษตรหลีกเลี่ยงลัทธิพาณิชยนิยม (Mercantilism) และการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป ในปีเดียวกันประธานาธิบดีเจฟเฟอร์สันส่งนักการทูตเจมส์ มอนโร (James Monroe) ไปยังกรุงปารีสเพื่อเจรจาของซื้อนครนิวออร์ลีนส์จากฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับสมัยของพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จักรพรรดินโปเลียนได้เสนอที่จะขายอาณานิคมลุยเซียนา (Louisiana) ทั้งหมด อันเป็นผืนแผ่นดินรกร้างกว้างใหญ่ประกอบด้วยชาวฝรั่งเศส ชาวสเปน และชาวอเมริกันพื้นเมือง เจฟเฟอร์สันเห็นว่าชาวอเมริกันควรจะมีที่ดินอย่างเพียงพอในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม จึงตัดสินใจที่จะซื้ออาณานิคมลุยเซียนาจากฝรั่งเศสในค.ศ. 1803 ราคาสิบห้าล้านดอลลาร์ (เทียบเท่าจำนวนเงิน 230 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน) เรียกว่า การซื้อลุยเซียนา (Louisiana Purchase) ทำให้อาณาเขตของประเทศสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของฝ่ายเฟอเดอรัลลิสต์อย่างมาก ว่าเป็นการผลาญเงินโดยไม่จำเป็น เจฟเฟอร์สันส่งนายเมอรีเวเทอร์ ลูอิส (Meriwether Lewis) และวิลเลียม คลาร์ก (William Clark) ไปทำการสำรวจดินแดนลุยเซียนาอันกว้างใหญ่ไพศาล ในการสำรวจของลูอิสและคลาร์ก (Lewis and Clark Expedition)
แต่เกษตรกรรมในความหมายนี้ คนผิวขาวมิได้ลงแรงในการประกอบเกษตรกรรมเองแต่อย่างใด แต่ใช้ทาสชาวแอฟริกันให้เป็นผู้ำทำการเพาะปลูก ภายใต้การกำกับของชาวอเมริกันผิวขาวในฐานะเจ้าของที่ดิน รัฐบาลสมัยประธานาธิบดีเจฟเฟอร์สันแม้จะให้ความสำคัญแก่สิทธิเสรีภาพ แต่ก็จำต้องปล่อยให้ระบอบทาสคงอยู่เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจเกษตรกรรมสามารถดำรงอยู่ได้
ในยุโรปกำลังเกิดสงครามนโปเลียน ประธานาธิบดีเจฟเฟอร์สันพยายามที่จะธำรงความเป็นกลางของสหรัฐอเมริกาเอาไว้ แม้กระนั้นเรือสินค้าของสหรัฐอเมริกาก็ยังคงถูกตรวจค้นและปล้มสะดมโดยทางการบริเทน และกองทัพเรือบริเทนยังลักพาตัวชายชาวอเมริกาจำนวนมากเพื่อนำไปเข้าร่วมกองทัพเรือในการสู้รบกับฝรั่งเศส เรียกว่า Impressment ในปีค.ศ. 1807สภาองคมนตรีของบริเทนออกคำสั่งให้ทัพเรือบริเทนนำกำลังเข้าปิดล้อมมิให้สหรัฐอเมริกาสามารถทำการค้าขายกับฝรั่งเศสได้ เจฟเฟอร์สันจึงตอบโต้ออกกฎหมายคว่ำบาตรทางการค้า (Embargo Act) ในปีเดียวกัน ห้ามมิให้ชาวอเมริกาทำการค้าขายกับประเทศใดๆในยุโรปและอาณานิคมของประเทศเหล่านั้น นโยบายนี้ทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาตกต่ำลงในขณะที่อังกฤษและฝรั่งเศสไม่ได้รับผลเสียใดๆจากนโยบายนี้ และกฎหมายคว่ำบาตรยังทำให้ประชาชนเสื่อมความนิยมในตัวประธานาธิบดีเจฟเฟอร์สันและพรรครีพับบลีกันอีกด้วย จนกระทั่งกฎหมายนี้ถูกยกเลิกไปในค.ศ. 1810
ในค.ศ. 1803 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ผนวกเอาดินแดนตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Territory) บริเวณลุ่มแม่น้ำโอไฮโอ (Ohio River) อันเป็นดินแดนอิสระของชาวอเมริกันพื้นเมือง เข้ามาเป็นดินแดนอินเดียนา (Indiana Territory) และรัฐโอไฮโอ (Ohio) ปกครองโดยรัฐบาลสหรัฐฯ ผู้นำเผ่าอเมริกันพื้นเมืองชื่อว่า เทคัมเซ (Tecumseh) และ เทนสกวาตาวา (Tenskwatawa) นำกำลังเข้าโจมตีเมืองของสหรัฐอเมริกาต่างๆในบริเวณตะวันตกเฉียงเหนืออย่างหนักหน่วง เพื่อต่อต้านการแผ่ขยายอิทธิพลของคนผิวขาว โดยที่การกบฏของชาวพื้นเมืองในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากบริเทน

สงครามปีค.ศ. 1812


รัฐมนตรีต่างประเทศเจมส์ แมดิสัน แห่งพรรครีพับบลีกัน ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีต่อจากเจฟเฟอร์สันในค.ศ. 1810 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเริ่มที่จะทนไม่ได้กับการกระทำของกองทัพเรืองบริเทนต่อเรือของสหรัฐฯ การขัดขวางการค้าของสหรัฐฯ และการที่บริเทนให้การสนับสนุนกบฏของอเมริกันพื้นเมือง นักการเมืองฝ่ายรีพับบลีกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้แทนจากรัฐทางตอนใต้และจากลุยเซียนา สนับสนุนให้ประกาศสงครามกับบริเทน ในขณะที่นักการเมืองฝ่ายเฟเดอรัลลิสต์จากเขตนิวอิงแลนด์ทางเหนือ ซึ่งได้รับผลประโยชน์จากการค้ากับยุโรปเป็นสำคัญ คัดค้านการทำสงคราม ในที่สุดสภาคองเกรสก็ได้ประกาศสงครามกับบริเทนด้วยเสียงข้างมากในค.ศ 1812 ฝ่ายบริเทนในขณะนั้นมีทัพเรือที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกจากการเอาชนะทัพเรือของนโปเลียนในยุทธการทราฟัลการ์ ฝ่ายอเมริกาและบริเทนปะทะกันในสองช่องทางได้แก่ ทางทะเลโดยที่ทัพเรือบริเทนเข้าโจมตีเมื่องชายฝั่งทะเลต่างๆของอเมริกา และทางบกทัพอเมริกายกเข้าบุกแคนาดาซึ่งในขณะนั้นเป็นอาณานิคมของบริเทน

การเผานครวอชิงตัน ดี.ซี. และทำเนียบขาว โดยทัพบริเทน ค.ศ. 1814
ในค.ศ. 1811 นายพลวิลเลียม เฮนรี แฮร์ริสัน (William Henry Harrison) บุกเข้าทำลายฐานที่มั่นของอินเดียนแดงได้ในยุทธการทิปเปอแคนู (Battle of Tippecanoe) ทัพอเมริกามีความพยายามในการรุกรานแคนาดาแต่ถูกขัดขวางจากการที่มลรัฐทางตอนเหนือไม่ให้ความร่วมมือ และในปีค.ศ. 1812 เสียเมืองดีทรอยต์ให้แก่บริเทน และทัพอเมริกาพ่ายแพ้แก่ทัพบริเทนในยุทธการควีนสตันไฮทส์ (Battle of Queenston Heights) ในปีเดียวกัน ทางทะเลบริเทนนำทัพเข้ามาปิดล้อมชายฝั่งทั้งหมดของสหรัฐอเมริกา ทั้งทางฝั่งมหาสุทรแอตแลนติกและฝั่งอ่าวเม็กซิโก ปีต่อมาค.ศ. 1813 ทัพอเมริกาสามารถบุกเข้ายึดและเผาเมืองโตรอนโตของแคนาดาได้ และพลจัตวาโอลิเวอร์ ฮาซาร์ด เพอร์รี่ (Oliver Hazard Perry) นำทัพเรือเมริกาเอาชนะทัพเรือบริเทนในยุทธการทะเลสาบอีรี (Battle of Lake Erie) สามารถขับบริเทนออกจากบริเวณดีทรอยต์ได้ นายพลแฮร์ริสันนำทัพเข้าปราบชาวอินเดียนแดงในยุทธการเธมส์ (Battle of the Thames) สังหารเทคัมเซผู้นำอินเดียนแดงเสียชีวิตในสนามรบ
ในปี 1814 บริเทนสามารถโค่นอำนาจของนโปเลียนได้ในยุโรป จึงหันความสนใจมายังสหรัฐอเมริกา ทัพเรือบริเทนเข้ายึดเมืองวอชิงตัน ดี.ซี. และเผาทำลายทำเนียบขาว ทางตอนเหนือทัพเรืออเมริกาต้านทานการรุกรานของทัพบริเทนจากมอนทรีออลได้ในยุทธการทะเลสาบชองแปลง (Battle of Lake Champlain) ทั้งฝ่ายเริ่มการเจรจายุติสงครามที่เมืองเกนต์ ประเทศเบลเยี่ยม นำไปสู่สนธิสัญญาเกนต์ (Treaty of Ghent) ในค.ศ. 1814 สิ้นสุดสงครามโดยที่ไม่มีความเปลี่ยนแปลงของดินแดนในครอบครองทั้งสองฝ่าย กลับไปสู่สภาวะเดิมก่อนเกิดสงคราม
แม้ว่าจะเจรจายุติสงครามแล้ว แต่ข่าวการยุติสงครามยังมาไม่ถึงยังสหรัฐอเมริกา ในค.ศ. 1815 ทัพเรือบริเทนเข้าโจมตีเมืองท่านิวออร์ลีนส์ ทัพอเมริกานำโดยแอนดรูว์ แจ็กสัน (Andrew Jackson) สามารถต้านทานการรุกรานของบริเทนได้ ในยุทธการนิวออร์ลีนส์ (Battle of New Orleans)

วาทะมอนโรและสมัยแห่งความรู้สึกดี


แผนที่เส้นแบ่งเขตแดน ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสเปน ตามสนธิสัญญาแอดัมส์-โอนิส (Adams-Onis Treaty)
ค.ศ. 1819 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาและราชอาณาจักรสเปนทำสนธิสัญญาแอดัมส์-โอนิส (Adams-Onis Treaty) โดยสหรัฐทำการซื้อฟลอริดามาจากสเปน และกำหนดเส้นแบ่งอาณาเขตระหว่างสองประเทศทางตะวันตก โดยสเปนถือครองดินแดนตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน

ประธานาธิบดีเจมส์ มอนโร (James Monroe) เจ้าของวาทะมอนโร (Monroe Doctrine)
การที่สหรัฐอเมริกาสามารถรับมือกับการรุกรานของมหาอำนาจอย่างเช่นสหราชอาณาจักรได้ ทำให้ชาวอเมริกันเกิดความภาคภูมิใจและเกิดเป็นกระแสชาตินิยมขึ้นในที่สุด ผลทางการเมืองของสงครามปีค.ศ. 1812 คือทำให้อำนาจและความนิยมของพรรคเฟเดอรัลลิสต์ อันมีฐานอำนาจอยู่ในเขตนิวอิงแลนด์ทางเหนือนั้น ล่มสลายไปในที่สุดในฐานะเป็นฝ่ายที่คัดค้านสงคราม ทำให้พรรครีพับบลีกันซึ่งมีฐานเสียงอยู่มลรัฐทางใต้เป็นพรรคการเมืองพรรคเดียวที่คงอำนาจ ความภาคภูมิใจในชาติ และเสถียรภาพทางการเมือง ทำให้เกิดสมัยแห่งความรู้สึกดี (Era of Good Feelings)
ในขณะเดียวกันนั้นอาณานิคมต่างๆของยุโรปในทวีปอเมริกา โดยเฉพาะในอเมริกาใต้กำลังทำสงครามเรียกร้องเอกราชจากประเทศแม่ในยุโรป ปีค.ศ. 1823 ประธานาธิบดีเจมส์ มอนโร และรัฐมนตรีต่างประเทศจอห์น ควินซี แอดัมส์ (John Quincy Adams) ประกาศวาทะมอนโร (Monroe Doctrine) ว่า รัฐบาลสหรัฐฯจะไม่ข้องแวะกับกิจการใดๆของชาติยุโรป และชาติต่างๆในยุโรปจะต้องไม่แทรกแซงกิจการใดๆของรัฐเอกราชในทวีปอเมริกา

แผนที่แสดงเส้นข้อตกลง (Compromise Line) ตามข้อตกลงมิสซูรี (Missouri Compromise)

ระบบทาส

ความขัดแย้งในเรื่องระบอบทาส เกิดขึ้นครั้งแรกในค.ศ. 1819 เมื่อมีการก่อตั้งมลรัฐมิสซูรี (Missouri) ขึ้นมาเป็นมลรัฐใหม่ โดยที่พลเมืองคนขาวในรัฐมิสซูรีส่วนใหญ่มีทาสชาวแอฟริกันไว้ในครอบครอง และประชาชนได้ร่างกฎหมายประจำมลรัฐและยื่นเรื่องขออนุมัติจัดตั้งรัฐใหม่ไปยังสภาคองเกรส แต่ทว่ามีสมาชิกรัฐสภาคนหนึ่งชื่อว่า จอห์น ทัลมาดจ์ (John Tallmadge) จากมลรัฐนิวยอร์ก เสนอให้มีการแก้กฎหมายให้มลรัฐมิสซูรีห้ามการนำทาสเข้ามาในมลรัฐเพิ่มเติม ซึ่งวุฒิสภาสหรัฐฯคัดค้านการแก้ไขนี้ จนในที่สุดรัฐบาลกลางก็อนุญาตให้รัฐมิสซูรีมีทาสได้ในปีค.ศ. 1820 และในปีเดียวกันมีการจัดตั้งมลรัฐแอละแบมาเป็นรัฐมีทาส ทำให้จำนวนรัฐมีทาสและรัฐปลอดทาสเท่ากัน จึงมีการจัดตั้งรัฐเมนขึ้นเป็นรัฐปลอดทาส เพื่อถ่วงเสียงกับฝ่ายรัฐมีทาส และกำหนดว่าห้ามมีระบอบทาสเหนือเส้นขนานที่ 36 องศา 30 ลิปดาเหนือ เรียกว่า เส้นขนานข้อตกลง (Compromise Line) ยกเว้นมลรัฐมิสซูรีซึ่งอยู่เหนือต่อเส้นข้อตกลง เรียกว่า ข้อตกลงมิสซูรี (Missouri Compromise) ปีค.ศ. 1820 ซึ่งเป็นบรรทัดฐานในการจัดตั้งระบอบทาสและเขตปลอดทาสในสหรัฐอเมริกาต่อมาเป็นเวลาสามสิบปี

การเคลื่อนย้ายชาวอเมริกันอินเดียน


ผู้ตั้งถิ่นฐานกำลังข้ามที่ราบเนบราสก้า
ในปี 1830 สภาคองเกรสผ่านกฎหมายการเคลื่อนย้ายชาวอินเดียน (อังกฤษIndian Removal Act) ซึ่งให้มีอำนาจประธานาธิบดีในการเจรจาสนธิสัญญาที่จะแลกเปลี่ยนดินแดนของชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกันในรัฐทางตะวันออกกับดินแดนทางตะวันตกของแม่น้ำมิสซิสซิปปี้.[3] เป้าหมายหลักคือเพื่อเคลื่อนย้ายชนพื้นเมืองอเมริกัน, รวมทั้ง ห้าอารยะชนเผ่า, จากตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกาซึ่งพวกเขาครอบครองที่ดินที่ผู้ตั้งถิ่นฐานต้องการ. ประธานาธิบดีแจ็คสันแห่งพรรคเดโมแครต (อังกฤษJacksonian Democrats) เรียกร้องให้ใช้กำลังในการเคลื่อนย้ายประชากรพื้นเมืองที่ปฏิเสธที่จะยอมรับ กฎหมายของรัฐไปยังเขตสงวนทางตะวันตก; สมาชิกพรรคการเมือง (อังกฤษWhigs) และผู้นำศาสนาต่อต้านการย้ายที่ไร้มนุษยธรรม. มีการเสียชีวิตหลายพันคนที่มีผลมาจากการโยกย้าย, เท่าที่เห็นใน รอยน้ำตาของเชอโรกี (อังกฤษCherokee Trail of Tears)[4] อินเดียนแดงเผ่า Seminole หลายคนในฟลอริดาปฏิเสธที่จะย้ายไปทิศตะวันตก; พวกเขาต่อสู้กับกองทัพมานานหลายปีในสงคราม Seminole

การฟื้นคืนชีพที่ยิ่งใหญ๋ครั้งที่สอง

บทความหลัก : Second Great Awakening การฟื้นคืนชีพที่ยิ่งใหญ๋ครั้งที่สองเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อฟื้นฟูนิกายโปรเตสแตนต์ที่สร้างผลกระทบทั้งประเทศในช่วงศตวรรษที่ 19 และนำไปสู่​​การเจริญเติบโตของคริสตจักรอย่างรวดเร็ว. การเคลื่อนไหวเริ่มราวปี ค.ศ. 1790, ได้รับแรงโมเมนตั้มในปี 1800, และ, หลังปี 1820 สมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหมู่การชุมนุมของกลุ่มแบบติสท์และเมทอดิสท์, ซึ่งนักเทศน์ของพวกเขาได้นำการเคลื่อนไหว. มันผ่านจุดสูงสุดในยุค 1840s.[5]
มีคนลงทะเบียนเป็นสมาชิกใหม่นับล้านคนในนิกาย evangelic ที่มีอยู่เดิมและนำไปสู่​​การก่อตัวของนิกายใหม่ ผู้นับถือหลายคนเชื่อว่าการฟื้นคืนชีพจะเป็นการป่าวประกาศถึงยุคพันปีใหม่. การฟื้นคืนชีพที่ยิ่งใหญ๋ครั้งที่สองได้กระตุ้นการเคลื่อนไหวเพือการการปฏิรูปหลายอย่าง-รวมทั้งการเลิกทาสและยับยั้งชั่งใจที่ออกแบบมาเพื่อลบความชั่วร้ายของสังคมก่อนการคาดว่าจะเสด็จมาครั้งที่สองของพระเยซูคริสต์.[6]

การเลิกทาส

หลังปี 1840 การเจริญเติบโตของการเคลื่อนไหวเพื่อเลิกทาสให้นิยามใหม่ของตัวมันเองว่าเป็น สงครามต่อสู้กับความบาปของเจ้าของทาส. มันทำการรวบรวมฝ่ายสนับสนุน (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในหมู่ผู้หญิงเคร่งศาสนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้รับผลกระทบจากการการฟื้นคืนชีพที่ยิ่งใหญ๋ครั้งที่สอง) วิลเลียม ลอยด์ แกร์ริสัน ได้เผยแพร่หนังสือพิมพ์ต่อต้านทาสหลายเล่มที่มีอิทธิพลมากที่สุด, The Liberator, ในขณะที่ เฟรเดอริค ดักลาส, อดีตทาส, เริ่มเขียนให้กับหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นในราวปี 1840 และเริ่มหนังสือพิมพ์นักปลดปล่อยทาสของเขาเอง, North Star ในปี ค.ศ. 1847.[7] นักเคลื่อนไหวต่อต้านระบบทาสที่ยิ่งใหญ่ที่สุด, เช่น อับราฮัม ลิงคอล์น, ปฏิเสธศาสนศาสตร์ของแกร์ริสันและถือได้ว่า การเป็นทาสเป็นความชั่วร้ายทางสังคม, ไม่ใช่บาป.[8][9]

แผ่ขยายไปทางตะวันตก (ค.ศ. 1824 ถึง ค.ศ. 1861)

การเลือกตั้งทั่วไปในปีค.ศ. 1824 เสียงของประชาชนชาวอเมริกันแตกออกระหว่างผู้สมัครจากพรรครีพับบลีกันสี่คน ได้แก่ โฆษกรัฐบาลนายเฮนรี เคลย์ (Henry Clay) จากมลรัฐเคนตักกี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจอห์น ควินซี แอดัมส์ จากมลรัฐแมสซาชูเซตต์ รัฐมนตรีการคลัง วิลเลียม ครอว์เฟิร์ด (William Crawfurd) และแอนดรูว์ แจ็กสัน นายพลผู้โด่งดังจากการนำทัพเรือสหรัฐฯเอาชนะทัพเรือบริเทนในยุทธการนิวออร์ลีนส์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากชาวมลรัฐเทนเนสซีและเพนซิลวาเนีย ไม่มีผู้สมัครคนใดได้รับเสียงข้างมากในคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) ที่เพียงพอที่จะเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ จึงให้สภาผู้แทนราษฏรเป็นผู้ทำการเลือกประธานาธิบดีเป็นขั้นตอนถัดมา โฆษกรัฐบาลเฮนรี เคลย์ ได้ทำการล็อบบี้ให้ผู้สนับสนุนของตนในสภาผู้แทนราษฏรเลือกนายจอห์น ควินซี แอดัมส์ เป็นประธานาธิบดี โดยมีข้อแลกเปลี่ยนคือตัวนายเฮนรี เคลย์ จะได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีการต่างประเทศ เป็นผลให้นายจอห์น ควินซี แอดัมส์ ได้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ สร้างความไม่พอใจให้แก่นายแอนดรูว์ แจ็กสันเป็นอย่างมาก ผู้ซึ่งได้ประณามข้อตกลงทางการเมืองนี้ว่าเป็น "ข้อแลกเปลี่ยนอันฉ้อฉล" (The Corrupt Bargain)
เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้เกิดความแตกแยกในพรรครีพับบลีกัน คือนายแอนดรูว์ แจ็กสัน ร่วมกับนายมาร์ติน แวน บิวเรน (Martin van Buren) ได้นำผู้สนับสนุนของตนแยกตัวออกมาจากพรรครีพับบลีกันออกมาตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ คือ พรรคเดโมแครต (Democratic Party) ในขณะที่สมาชิกที่ยังคงอยู่ในพรรคเดิมนั้นเรียกว่า พรรครีพับบลีกัน (Republican Party) หรือต่อมาเรียกว่าพรรควิก (Whig Party) นำโดยเฮนรี เคลย์ เป็นจุดเริ่มต้นของระบบพรรคการเมืองที่สอง (Second Party System) รัฐบาลของนายแอดัมส์บริหารงานไม่เป็นที่พึงพอใจของประชาชนมากนัก ส่งผลให้แอนดรูว์ แจ็กสัน สามารถชนะการเลือกตั้งในค.ศ. 1828 ขึ้นเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐฯได้ในที่สุด

อ้างอิงจาก