วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ทริปเชียงใหม่1วัน

ที่ยวเชียงใหม่ 1 วัน  : ทัวร์เที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพ-พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ เชียงใหม่

ปรแกรมทัวร์เชียงใหม่-เที่ยวเชียงใหม่ เที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพ-พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวิศน์เชียงใหม่

08.00  รอรับคณะจากที่พักในเชียงใหม่ หรือสนามบินเชียงใหม่ นำท่าน นมัสการครูบาศรีวิชัย













09.00  นมัสการพระธาตุดอยสุเทพ















12.00  เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์หมู่บ้านชาว หมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง ชมวิถึชิวิตชาวเขาเผ่าม้ง  

















13.30  ทานประทานอาหารกลางวัน ตามอัธยาศัย



14.00  นั่งรถชมสัตว์ และชมหมีแพนด้า ช่วงช่วง/หลินปิง  นั่งรถรางชมสวนสัตว์เชียงใหม่         







17.00  นำท่านและคณะ เดินทางกลับที่พักในตัวเมือง จังหวัดเชียงใหม่

การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน

ยุโรปประมาณค.ศ. 450
จักรวรรดิโรมันแผ่ขยายอาณาเขตรอบทะเลเมดิเตอร์ราเนียนจนมีอาณาเขตสูงสุดในศตวรรษที่ 2 แต่อาณาจักรโรมันที่ใหญ่เกินไปทำให้ยากแก่การปกครอง ทำให้ต้องแบ่งจักรวรรดิออกเป็นตะวันออกและตะวันตก ในค.ศ. 330 จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชตั้งเมืองไบแซนติอุม (Byzantium) เป็นเมืองหลวงใหม่แทนที่โรม ตั้งชื่อใหม่เป็นโรมใหม่ (Nova Roma) แต่ผู้คนมักจะเรียกว่า เมืองของพระเจ้าคอนสแตนติน คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) สงครามกับชนเผ่าเยอรมัน ในยุโรปกลางและตะวันออกในปัจจุบัน ทำให้ชาวโรมันเหนื่อยล้า
ในศตวรรษที่ 4 พวกชนฮั่น (Huns) จากเอเชียบุกเข้ามาในยุโรปสังหารเผ่าเยอรมันอย่างโหดเหี้ยม ทำให้เผ่าเยอรมันต่าง ๆ มาขออาศัยในจักรวรรดิ แลกเปลี่ยนกับการถูกเกณฑ์ไปรบ ใน ค.ศ. 378 ในการรบที่อเดรียโนเปิล (Adrianople) เผ่าวิสิโกธ เอาชนะทัพโรมันและยึดแคว้นดาเชีย (Dacia โรมาเนียในปัจจุบัน) เป็นที่มั่น
ในค.ศ. 391 จักรพรรดิธีโอโดซิอุสออกกฎหมายให้คริสต์ศาสนาเป็นศาสนาเพียงหนึ่งเดียวของจักรวรรดิโรมัน ความเชื่อตามหลักของคริสต์ศาสนานั้นบรรเทาความกระหายสงครามของชาวโรมันจนเกือบหมด ทำให้ต้องจ้างทหารเผ่าเยอรมันเพื่อให้สู้กับพวกเยอรมันเอง กองทัพโรมันจึงอ่อนแอลง
พระเจ้าธีโอโดซิอุสทรงแบ่งอาณาจักรโรมันออกเป็นตะวันออกและตะวันตก การแบ่งจักรวรรดิเป็นการตัดเนื้อร้ายของจักรวรรดิ คือ ฝั่งตะวันตกที่ย่อยยับด้วยการรุกรานของเผ่าอนารยชน ทำให้จักรวรรดิฝั่งตะวันออก ที่รุ่งเรืองด้วยการค้ากับเส้นทางสายไหม ยังคงอยู่รอดเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ไปอีกพันปี
ใน ค.ศ. 409 เผ่าแวนดัล (Vandals)  ทนการโจมตีของพวกฮั่นไม่ไหว จึงข้ามแม่น้ำไรน์ที่เป็นน้ำแข็งมาในแคว้นโกล (Gaul) ปล้นสะดมไปตามทางและตั้งรกรากที่คาบสมุทรไอบีเรีย ในค.ศ. 410 พระเจ้าอลาริค (Alaric) แห่งพวกวิซิกอททำทัพบุกยึดกรุงโรม เผาทำลายเมืองจนพินาศ จนจักรพรรดิโฮโนริอุส แห่งจักรวรรดิตะวันตก ยกแคว้นอากีแตนในฝรั่งเศสปัจจุบันให้กับพวกวิซิกอท พวกวิซิกอทจากอากีแตนก็บุกไอบีเรียขับพวกแวนดัลไปแอฟริกาเหนือในค.ศ. 429 พวกแวนดัลจากแอฟริกายกทัพเรือกลับมาโจมตีทำลายกรุงโรมใน ค.ศ. 455
ใน ค.ศ. 476 โอโดอาเซอร์ (Odoacer) จากเผ่าเยอรมันโจมตีกรุงโรม และปลดจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งฝั่งตะวันตก คือ จักรพรรดิโรมุลุส ออกุสตุส (Romulus Augustus) ทำให้จักรพรรดิฝั่งตะวันออกส่งพระเจ้าธีโอโดริค (Theodoric) แห่งชาวออสโตรกอท (Ostrogoths) มายึดโรมคืน แต่ธีโอโดริคก็ตั้งอาณาจักรในอิตาลีเสียเอง
urlimgres

โยบายของกรุงโรมที่มีต่อศาสนาคริสต์

          โดยทั่วไป โรมอดทนต่อการปฏิบัติกิจทางศาสนาของผู้คนจนได้รับชัยชนะ ยกตัวอย่างเช่น โรมไม่ต้องการให้ชาวยิวนมัสการพระเจ้าจักรพรรดิและเทพเจ้าโรมันอื่น ๆ อย่างไรก็ตามโรมจะไม่ปล่อยให้ศาสนาของราษฎรก่อการจลาจล  สำหรับเหตุผลนั่น เมื่อการประท้วงของชาวยิวเริ่มขึ้นในกรุงเยรูซาเล็ม โรมันได้ทำลายวิหารของชาวยิวในคริสต์ศักราช 70

ภัยคุกคามของศาสนาคริสต์ การปฏิเสธที่จะบูชาเทพเจ้าโรมันของชาวคริสเตียนถูกมองว่าเป็นรูปแบบของการก่อจลาจล  นอกจากนี้ การเรียกร้องของศาสนาคริสต์ที่มีต่อทาสและผู้หญิงก่อให้เกิดสัญญาณการเตือนภัย ในที่สุด การพูดคุยเกี่ยวกับผู้นำที่จะสร้างอาณาจักรใหม่ ดูเหมือนจะบ่งบอกถึงการสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมัน ในขณะที่ผู้ที่ไม่ใช่ยิวหรือบุคคลที่ไม่ใช่ยิวจำนวนมากกว่า ได้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวทางศาสนาคริสต์โดยการเปลี่ยนให้ไปนับถือศาสนาคริสต์ ชาวโรมันก็รู้สึกว่าถูกคุกคาม
มหาวิหารนักบุญเปโดร
มหาวิหารนักบุญเปโดร (St. Peter's Basilica)  เป็นหนึ่งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวคริสต์
การข่มเหงของชาวโรมัน ในไม่ช้า ความหวาดกลัวศาสนาคริสต์ของชาวโรมัน ได้นำไปสู่การเป็นศัตรูที่คุกรุ่น ผู้ปกครองโรมันบางคนกล่าวหาชาวคริสเตียนทางการเมืองและปัญหาทางเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น จักรพรรดิเนโร (หรือ นีโร – Nero) กล่าวหาว่าชาวคริสเตียนจุดไฟเผากรุงโรมจนราบเรียบเป็นส่วนมากในคริสต์ศักราช 64 ในช่วงศตวรรษที่สอง การประหัตประหารชาวคริสต์ ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น หลายคนถูกคุมขังหรือฆ่าเพราะศาสนาของพวกเขา กระนั้น คนเป็นจำนวนมาก ก็ยังเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์
ชาวคริสเตียนพวกอื่น ๆ และแม้ผู้ที่ไม่คริสเตียนบางพวก ได้ยกย่องให้ชาวคริสเตียนผู้ถูกข่มเหงว่าเป็นผู้ยอมพลีชีพเพื่อศาสนา   Martyrs คือ บุคคลที่มีความยินดีที่จะเสียสละชีวิตของพวกเขาเพื่อประโยชน์ของความเชื่อหรือความมุ่งหมาย ในระหว่างการข่มเหงของชาวโรมัน ผู้ยอมพลีชีพเพื่อศาสนาชาวคริสเตียนมักจะถูกฝังในสุสานใต้ดิน ที่เรียกว่า catacombs (สุสาน) ชาวคริสเตียน ได้รวมตัวกันในสุสานเพื่อเฉลิมฉลองงานศพของผู้ยอมพลีชีพเพื่อศาสนา เช่นเดียวกับพิธีกรรมและพิธีอื่น ๆ
สุสานใต้ดิน
สุสานใต้ดินในกรุงโรมมีซอกฝังศพติดกำแพงและภาพวาดพระเยซู

ศาสนาของโลก แม้จะมีการประหัตประหารเหล่าสาวกของศาสนาคริสต์  ศาสนาคริสต์ก็ได้กลายเป็นมีพลังที่ทรงประสิทธิภาพ ประมาณตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 2  มีชาวคริสต์ล้านคน อาศัยอยู่ในจักรวรรดิโรมันและไกลออกไป  ศาสนาคริสต์เป็นที่นิยมด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น
ศาสนาโอบอุ้มทุกคน ทั้งชายและหญิง ผู้ที่เป็นทาส คนจนและขุนนาง
ให้ความหวังแก่ผู้หมดหนทาง
จิตวิญญาณของความเชื่อทำให้ผู้ที่ถูกรังเกียจจากรูปแบบการดำเนินชีวิตที่หรูหราของเศรษฐีชาวโรมันให้สนใจ
ศาสนาคริสต์ให้ความสัมพันธ์ส่วนตัวกับความรักของพระเจ้า
คำสอนของศาสนาคริสต์ส่งประกายให้ชีวิตนิรันดร์หลังความตาย
ในขณะที่ศาสนาขยายตัว ชุมชนที่นับถือศาสนาคริสต์ให้การสนับสนุนสมาชิกของพวกเขา ชาวคริสเตียน ได้จัดตั้งโรงพยาบาล โรงเรียน และการบริการสังคม อื่น ๆ เป็นผลให้ความเชื่อมั่นของพวกเขาดึงดูดเหล่าสาวกมากยิ่งขึ้น ในไม่ช้าก็เร็ว จำนวนของเหล่าสาวกจะรวมผู้ศรัทธาที่มีประสิทธิภาพมากให้เป็นหนึ่ง

การเปลี่ยนศาสนาของจักรพรรดิคอนสแตนติน

ในคริสต์ศักราช 306 จักรพรรดิคอนสแตนติ (KAHN•stuhn•TEEN) กลายเป็นจักรพรรดิแห่งกรุงโรม ตอนแรก จักรพรรดิคอนสแตนติอนุญาตให้ประหัตประหารชาวคริสต์ อย่างไรก็ตาม ในคริสต์ศักราช 312 พระองค์ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายที่มีต่อศาสนาคริสต์ ในขณะที่พระองค์กำลังต่อสู้กับคู่แข่งสามคนเพื่อการเป็นผู้นำของกรุงโรม

ไม้กางเขนเป็นสัญลักษณ์ ในท่ามกลางการต่อสู้ จักรพรรดิคอนสแตนติน ได้อธิษฐานเพื่อขอความช่วยเหลือ หลังจากนั้น พระองค์ก็รายงานว่าได้มองเห็นไม้กางเขนของชาวคริสต์ในท้องฟ้าพร้อมกับคำพูดเหล่านี้: "ด้วยสัญลักษณ์นี้ ท่านจะพิชิต" พระองค์ได้สั่งทหารของพระองค์ นำสัญลักษณ์ไม้กางเขนไปติดไว้บนโล่และธงรบ จักรพรรดิคอนสแตนตินและกองกำลังของพระองค์ได้ชัยชนะการต่อสู้ จักรพรรดิผู้ได้รับชัยชนะได้ให้ความชื่อถือว่าความสำเร็จของพระองค์มาจากพระเจ้าของศาสนาคริสต์

การให้อำนาจตามกฎหมายแก่ศาสนาคริสต์ จักรพรรดิคอนสแตนตินได้หยุดการประหัตประหารชาวคริสต์ในทันที จากนั้นในพระราชกฤษฎีกาที่รู้จักกันว่า พระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน (Edict of Milan) พระองค์ได้ทำให้ศาสนาคริสต์เป็นหนึ่งในศาสนาที่ต้องถูกตามกฎหมายของจักรวรรดิ จักรพรรดิคอนสแตนตินได้สร้างวิหาร ใช้สัญลักษณ์คริสเตียนบนเหรียญ และทำให้วันอาทิตย์เป็นวันศักดิ์สิทธิ์ของการพักผ่อนและการเคารพบูชา แต่จักรพรรดิที่นับถือศาสนาคริสต์ของกรุงโรมองค์แรก ได้ขยายเวลาการเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์อย่างเป็นทางการของพระองค์เองจนสิ้นสุดพระชนม์ชีพของพระองค์
แผนที่การเผยแพร่ศาสนาคริสต์
แผนที่การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ในจักรวรรดิโรมัน  ค.ศ. 600
---------------------------------------------

ผู้สร้างประวัติศาสตร์

จักรพรรดิคอนสแตนติน (มีชีวิตระหว่างคริสต์ศักราช 280 – 337)

จักรพรรดิคอนสแตนติน
ภาพโมเสกจักรพรรดิคอนสแตนติน
          จักรพรรดิคอนสแตนตินเป็นนักรบที่อำมหิตและประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ พระองค์ยังเป็นนักศึกษาผู้เคร่งครัดศาสนาใหม่ของพระองค์ คือ ศาสนาคริสต์ พระองค์ได้เขียนคำอธิษฐานพิเศษสำหรับกองกำลังของพระองค์และพระองค์ยังได้เดินทางไปพร้อมกับโบสถ์เคลื่อนย้ายในเต็นท์ จักรพรรดิคอนสแตนติออกคำสั่งให้สร้างโบสถ์คริสต์เป็นจำนวนมากในจักรวรรดิโรมัน
จักรพรรดิคอนสแตนติน ได้ก่อตั้งเมืองคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople – ปัจจุบันนี้ คือ กรุงอิสตันบูลตุรกี) เป็นเมืองหลวงใหม่ เป็นศูนย์กลางของศาสนาคริสต์เป็นเวลาถึงหนึ่งพันปีถัดมา พระองค์ถูกฝังอยู่ในโบสถ์ของผู้เผยแพร่ศาสนาในกรุงคอนสแตนติโนเปิล ในคริสต์ศักราช 337 อนุสาวรีย์ที่อุทิศให้กับอัครสาวก 12 คนล้อมรอบหลุมฝังศพของจักรพรรดิคอนสแตนติน  จักรพรรดิคอนสแตนติน ซึ่งเป็นจักรพรรดิคริสเตียนคนแรก ถือว่าตัวเองเป็นอัครสาวกของพระเยซูองค์ที่ 13
----------------------------------------------
ศาสนาคริสต์เปลี่ยนแปลงกรุงโรม ในคริสต์ศักราช 380 จักรพรรดิธีโอโดเซียส (Theodosius) ได้ทำให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาอย่างเป็นทางการของกรุงโรม สิบเอ็ดปีต่อมา จักรพรรดิธีโอโดเซียส ได้ปิดโบสถ์ที่ไม่ได้เป็นศาสนาคริสต์ทั้งหมด พระองค์กล่าวว่า "ประชาชนทุกชาติที่เราปกครองควรจะปฏิบัติศาสนาที่ปีเตอร์อัครสาวกส่งไปยังชาวโรมัน"

การเริ่มต้นของนิกายโรมันคาธอลิก ศาสนาคริสต์ในเมืองโรมันได้รับเอาโครงสร้างทั่วไป พระสงฆ์และผู้ดูแลวัดเชื่อฟังพระสังฆราช(bishops) หรือผู้นำคริสตจักรท้องถิ่น ตามประเพณีโรมันคาทอลิก บิชอปคนแรกของกรุงโรม คือ อัครสาวกปีเตอร์  ต่อมา บิชอปผู้ใหญ่แห่งกรุงโรมจะกลายเป็นบาทหลวงที่สำคัญที่สุดหรือสมเด็จพระสันตะปาปา (Pope) นี่เป็นจุดเริ่มต้นของนิกายโรมันคาทอลิก นิกายศาสนาคริสต์นิกายหนึ่งที่ก่อรากฐานในกรุงโรม คาทอลิก (Catholic )หมายความว่า "สากล"
นักเขียนคริสเตียนในยุคแรกบางคน ที่ได้รับการเรียกว่าบิดาแห่งคริสตจักร ได้พัฒนาลัทธิความเชื่อหรือสภาวะของความเชื่อ ลัทธิความเชื่อนี้ได้ทำให้ความเชื่อเด่นขึ้นในรูปตรีเอกานุภาพ (สำหรับชาวคริสเตียน ชาวคริสตัง เรียกว่า ตรีเอกภาพ – Trinity) หรือการรวมกันเป็นหนึ่งในภาวะอันเป็นทิพย์สามภาวะ คือ พระบิดา พระบุตร (พระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ในพระเจ้าองค์เดียว ออกัสติน บิดาแห่งคริสตจักรจากแอฟริกาเหนือ สอนว่ามนุษย์ต้องการพระกรุณาคุณของพระเจ้าที่จะได้รับความคุ้มครอง  ต่อมาเขาก็สอนว่าคนไม่สามารถที่จะได้รับพระกรุณาคุณของพระเจ้าจนกว่าพวกเขาจะเป็นคริสตจักร
คริสตจักรยังได้พัฒนาพิธีกรรมทางศาสนาตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของพระเยซู การล้างบาป ซึ่งเป็นพิธีการทำให้บริสุทธิ์โดยน้ำ ได้ส่งสัญญาณการเข้ามาในคริสต์ของพระเยซู  พิธีเป็นสัญลักษณ์การยอมรับผู้ศรัทธาทุกคนเข้ามาในศาสนา

เพื่อจะมีชีวิตอยู่แบบชีวิตคริสเตียนที่ดีเลิศและเพื่อเฉลิมฉลองการให้ศีลเหล่านี้พร้อมกัน ผู้ชายและผู้หญิงที่นับถือศาสนาคริสต์ ได้ก่อให้เกิดชุมชนที่เรียกว่า monasteries ขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป เหล่าผู้ชายก็ได้เข้ามาสู่การบรรพชาที่สูงส่งของคริสตจักร กลายเป็นหัวหน้าบาทหลวง นักบวชและพระลูกวัด  ศาสนาคริสต์เปลี่ยนจากนิกายขนาดเล็กไปสู่ศาสนาที่มีประสิทธิภาพ อุดมสมบูรณ์
    อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ศาสนาคริสต์เจริญขึ้น จักรวรรดิโรมันก็เสื่อมลง
นกพิราบ
ภาพนกพิราบที่หน้าต่างกระจกมหาวิหารนักบุญเปโดร
มักจะใช้เป็นสัญลักษณ์พระวิญญาณบริสุทธิ์เสมอ

การเสื่อมโทรมและล่มสลายของจักรวรรดิ

ความอ่อนแอในจักรวรรดิ

          ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 จักรวรรดิยังคงดูเหมือนจะแข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนมีคนมากที่สุด แต่เริ่มจะมีปัญหาภายในคุกคามการดำรงอยู่ของกรุงโรมมาเรื่อย ๆ
ผู้บุกรุกชาวเจอร์มานิก
กรุงโรมไม่สามารถหยุดการบุกรุกของชนเผ่าเจอร์มานิกที่บุกมาเป็นระลอก ๆ ได้
รูปปั้นทหารขี่ม้านี้ เป็นชนเผ่าเจอร์มานิก ที่เรียกกันว่า Lombards (ชนชาวแคว้นลอมบาร์ดี้)
ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาบางส่วนของกรุงโรมมาจากเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1 จักรวรรดิหยุดการขยายตัว การสิ้นสุดของชัยชนะครั้งใหม่หมายถึงการสิ้นสุดการขยายตัวไปยังแหล่งความมั่งคั่งแห่งใหม่  เป็นผลให้รัฐบาลเพิ่มภาษี สร้างความยากลำบากให้กับประชาชน  การเสื่อมโทรมในภาคเกษตรยังทำให้จักรวรรดิอ่อนแออีกด้วย การศึกสงครามและการใช้มากเกินไปมีอย่างต่อเนื่องทำให้พื้นที่เกษตรถูกทำลาย นอกจากนี้เทคโนโลยีก็ไม่ได้รับการปรับปรุง เพราะเกษตรกรต้องพึ่งพาทาสมากกว่าเครื่องมือใหม่ ๆ ในการทำงาน ทำให้เกิดการขาดแคลนอาหาร อันก่อให้เกิดจากความไม่สงบ




อ้างอิงจาก 

http://www.trueplookpanya.com/new/asktrueplookpanya/questiondetail/682

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99

https://writer.dek-d.com/zoobigsf/story/viewlongc.php?id=768328&chapter=2

อารยธรรมอียิปต์โบราณ


โบราณ


อารยธรรมอียิปต์
อารยธรรมอียิปต์เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 3500 ปีก่อนคริสต์ศักราชหรือ 5500 ปีมาแล้ว ในบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา เป็นอารยธรรมที่มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่างๆ และมีพัฒนาการสืบเนื่องต่อมาหลายพันปี
1.ปัจจัยที่ส่งเสริมการหล่อหลอมอารยธรรมอียิปต์
อารยธรรมอียิปต์ได้ชื่อว่าเป็นของขวัญจากแม่น้ำไนล์ (The girt of the Nile) เนื่องจากลักษณะที่ตั้งของอียิปต์และสภาพภูมิศาสตร์ในลุ่มแม่น้ำไนล์มี อิทธิพลต่อการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการสร้างสรรค์อารยธรรมอียิปต์ นอกจากนี้แล้ว ระบอบการปกครองตลอดจนภูมิปัญญาของชาวอียิปต์ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริม การสร้างสรรค์อารยธรรมของอียิปต์
59+
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง สภาพภูมิศาสตร์ของอียิปต์โดยทั่วไปมีลักษณะร้อนและแห้งแล้ง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตทะเลทรายซึ่งไม่เอื้อต่อการเพาะปลูก ยกเว้นบริเวณ ฝั่งแม่น้ำไนล์ที่มักมีน้ำท่วมขังเป็นประจำในช่วงฤดูฝน น้ำฝนและหิมะที่ละลายจากยอดเขาจะไหลจากต้นแม่น้ำไนล์ และท่วมล้นสองฝั่งแม่น้ำตั้งแต่เดือนกันยายนของทุกปีตะกอนและโคลนที่น้ำพัด พามาได้กลายเป็นปุ๋ยที่ดีสำหรับการเพาะปลูกบริเวณที่ลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ อย่างไรก็ตามลักษณะธรรมชาติดังกล่าวนี้ช่วยให้ชาวอียิปต์เพาะปลูกได้เพียงปี ละครั้งเท่านั้น ดังนั้นจึงจำต้องใช้ภูมิปัญญาแก้ไขข้อจำกัดของสภาพภูมิศาสตร์ด้วยการขุดคลอง ขนาดสั้นๆ เพื่อส่งน้ำเข้าไปในเขตทะเลทรายที่แห้งแล้งจนสามารถขยายพื้นที่เพาะปลูก และทำการเพาะปลูกได้ปีละ 2-3 ครั้ง นอกจากนี้ผู้นำชาวอียิปต์โบราณยังใช้วิธีคำนวณจัดแบ่งที่ดินที่สามารถเพาะ ปลูกได้ให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง กล่าวได้ว่าการทำชลประทานและระบบจัดสรรที่ดินช่วยให้ชาวอียิปต์ตั้งถิ่นฐาน อยู่ในดินแดนที่แห้งแล้งได้ต่อเนื่องนานถึง 6000 ปี โดยไม่ต้องอพยพละทิ้งถิ่นฐานไปแสวงหาที่ทำกินใหม่เหมือนชนชาติอื่น
             อนึ่ง ลักษณะที่ตั้งของอียิปต์ซึ่งถูกปิดล้อมด้วยพรมแดนธรรมชาติที่สำคัญ คือทะเลและทะเลทราย ก็ช่วยป้องกันการรุกรานจากภายนอก ทำให้ชาวอียิปต์สามารถพัฒนาและหล่อหลอมอารยธรรมได้ต่อเนื่องยาวนานและมี เอกลักษณ์ของตนเอง
5514
          ทรัพยากรธรรมชาติ แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของอียิปต์จะเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้ง แต่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำไนล์ก็ประกอบด้วยหินแกรนิตและหินทราย ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญที่ชาวอียิปต์ใช้ในการก่อสร้างและพัฒนาความเจริญ รุ่งเรืองทางด้านสถาปัตยกรรม วัสดุเหล่านี้มีความคงทนแข็งแรงและช่วยรักษามรดกทางด้านอารยธรรมของอียิปต์ ให้ปรากฏแก่ชาวโลกมาจนกระทั่งทุกวันนี้ นอกจากนี้ ต้นอ้อโดยเฉพาะปาปิรุส ซึ่งขึ้นชุกชุมบริเวณสองฝั่งแม่น้ำไนล์ก็เป็นวัสดุธรรมชาติสำคัญที่ชาวอียิปต์ใช้ทำกระดาษทำให้เกิความก้าวหน้าในการบันทึกและสร้างผลงานด้านวรรณกรรม
542
            ระบอบการปกครอง จักรวรรดิ อียิปต์มีระบอบการปกครองที่มั่นคง ชาวอียิปต์ยอมรับอำนาจและเคารพนับถือฟาโรห์หรือกษัตริย์ของตนประดุจเทพเจ้าองค์หนึ่ง ดังนั้นฟาโรห์จึงมีอำนาจเด็จขาดในการปกครองและบริหารประเทศทั้งด้านการเมือง และศาสนา โดยมีขุนนางเป็นผู้ช่วยในด้านการปกครอง และมีพระเป็นผู้ช่วยด้านศาสนา การที่ฟาโรห์มีอำนาจเด็จขาดสูงสุดทำให้อียิปต์พัฒนาอารยธรรมของตนได้ต่อ เนื่อง เพราะฟาโรห์สามารถสร้างสรรค์และพัฒนาความเจริญตามแนวนโยบายของตนได้เต็มที่ เช่น การพัฒนาพื้นที่การเกษตรในเขตทะเลทรายที่แห้งแล้งด้วยการคิดค้นระบบชลประทาน การสร้างพีระมิดหรือสุสานขนาดใหญ่ไว้เพื่อเก็บศพของฟาโรห์ตามความเชื่อทางศา นาของชาวอียิปต์เรื่องโลกหลังความตายและการมีวิญญาณเป็นอมตะ และการคิดค้นปฏิทินเพื่อกำหนดฤดูกาลสำหรับการไถหว่านและเก็บเกี่ยวภูมิปัญญาของชาวอียิปต์ ชาวอียิปต์เป็นชนชาติที่มีความสามารถในการคิดค้นเทคโนโลยีและวิทยาการความเจริญ ด้านต่างๆ เพื่อตอบสนองการดำรงชีวิต ความเชื่อทางศาสนาและการสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่จักรวรรดิอียิปต์ เช่น ความรู้ทางคณิตศาสตร์ เรขาคณิต และฟิสิกส์ ได้ส่งเสริมความเจริญในด้านการก่อสร้างและสถาปัตยกรรม ความรู้ด้านดาราศาสตร์ช่วยให้ชาวอียิปต์ประดิษฐ์ปฏิทินรุ่นแรกๆของโลก ความสามารถในการประดิษฐ์อักษรที่เรียกว่า ไฮโรกลิฟิก” (Hieroglyphic) ทำให้เกิดการบันทึกเรื่องราวที่เกี่ยวกับศาสนาและฟาโรห์ และความเจริญทางการแพทย์ก็ทำให้ชาวอียิปต์สามารถคิดค้นวิธีผ่าตัดเพื่อรักษา ผู้ป่วย ตลอดจนใช้น้ำยารักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อย (มัมมี่) ความเจริญเหล่านี้ทำให้สังคมอียิปต์เจริญรุ่งเรืองต่อเนื่องหลายพันปี สามารถหล่อหลอมอารยธรรมของตนให้ก้าวหน้าและเป็นรากฐานของอารยธรรมตะวันตกใน เวลาต่อมา
การทำมัมมี่ เริ่ม จากนำศพมาทำความสะอาด ล้วงเอาอวัยวะภายในออกโดยการใช้ตะขอที่ทำด้วยสำริดเกี่ยวเอาสมองออกทางโพรง จมูก ใช้มีดกรีดข้างลำตัว เพื่อล้วงเอาอวัยวะออกจากศพ เหลือเพียงหัวใจไว้ จากนั้นนำขี้เลือย เศษผ้าลินิน โคลน และเครื่องหอมใส่เข้าไปแทนที่ อวัยวะภายในซึ่งจะถูกนำไปล้างด้วยไวน์ปาล์ม แล้วบรรจุลงในภาชนะสี่เหลี่ยมมีฝาปิด ส่วนร่างจะนำไปดองเกลือ 7-10 วัน แล้วนำมาเคลือบน้ำมันสน ตกแต่งพันศพด้วยผ้าลินินสีขาวชุบเรซิน บรรจุลงหีบศพพร้อมกับเครื่องรางของขลังต่างๆ รวมถึงหน้ากากจำลองใบหน้าของผู้ตายใส่ในหีบศพอีกด้วย
การทำมัมมี่
2.ความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอียิปต์
อาณาจักรอียิปต์ก่อตัวขึ้นเมื่อประมาณ 3100 ปีก่อนคริสต์ศักราช และมีความเจริญรุ่งเรืองต่อเนื่องมาเกือบ 3000 ปี มีราชวงศ์ปกครองประมาณ 30 ราชวงศ์ อาณาจักรอียิปต์แบ่งช่วงการปกครองเป็น สมัย คือ สมัยราชอาณาจักรเก่า สมัยราชอาณาจักรกลาง สมัยราชอาณาจักรใหม่ และสมัยเสื่อมอำนาจ อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานประเภทลายลักษณ์ระบุช่วงเวลาของแต่ละสมัยไว้ชัดเจน นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่จึงกำหนดช่วงเวลาโดยวิธีการประมาณการ
สมัยราชอาณาจักรเก่า (The Old Kingdom) สมัยราชอาณาจักรเก่ามีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงประมาณปี 2700-2200 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นสมัยที่อียิปต์มีความเจริญก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์และศิลปกรรม มีการก่อสร้างพีระมิดซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของอารยธรรมอียิปต์ ช่วงปลายสมัยนี้บ้านเมืองเกิดการจลาจลวุ่นวายเนื่องจากรัฐบาลกลาง
เสื่อม อำนาจนานประมาณ 150 ปี
สมัยราชอาณาจักรกลาง (The Middle Kingdom) สมัยราชอาณาจักกลาง ฟาโรห์มีอำนาจปกครองอยู่ในช่วงราวปี 2015-1652ก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยราชอาณาจักรกลางนี้ อียิปต์มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและภูมิปัญญามากโดยเฉพาะด้านการชล ประทาน ดังนั้นจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองของอียิปต์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสมัยนี้เกิดความวุ่นวายในประเทศ จนต่างชาติเข้ามารุกรานและปกครองอียิปต์
สมัยราชอาณาจักรใหม่ (The New Kingdom) ชาว อียิปต์สามารถขับไล่ชาวต่างชาติและกลับมาปกครองดินแดนของตนอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงประมาณปี 1567-1085 ก่อนคริสต์ศักราช จึงเรียกช่วงการปกครองสมัยนี้ว่าสมัยราชอาณาจักรใหม่ สมัยนี้ฟาโรห์มีอำนาจเด็ดขาจในการปกครองและขยายอาณาเขตเหนือดินแดนใกล้เคียง จนเป็นจักรวรรดิอียิปต์
สมัยเสื่อมอำนาจ (The Decline) จักรวรรดิอียิปต์เสื่อมอำนาจตั้งแต่ประมาณปี 1100 ก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยนี้ชาวต่างชาติ เช่น พวกแอลซีเรียนและพวกเปอร์เซียจากเอเชีย รวมทั้งชนชาติในแอฟริกาได้เข้ารุกรานอียิปต์และปกครองบางส่วนของอียิปต์ แต่ฟาโรห์ของอียิปต์ก็ยังคงปกครองดินแดนของตนต่อมาจนถึงประมาณปี 300 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรอียิปต์เสื่อมสลายและถูกชาวต่างชาติยึดครอง
3.ความรุ่งเรืองของอารยธรรมอียิปต์
ชาวอียิปต์ได้สร้่างความเจริญให้แก่ชาวโลกเป็นจำนวนมาก อารยะรรมส่วนใหญ่เกิดจากการสร้างสรรค์โดยภูมิปัญญาของชาวอียิปต์ ซึ่งได้ประดิษฐ์และคิดค้นความเจริญด้านต่างๆ เพื่อตอบสนองความจำเป็นในการดำเนินชีวิตและความเชื่อทางศาสนา
ศาสนา ศาสนามีอิธิพลสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์อารยธรรมอียิปต์ ความเชื่อทางศาสนาของชาวอียิปต์ผูกพันกับธรรมชาติและสภาพภูมิศาสตร์ จะเห็นได้ว่าชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้าหลายองค์ทั้งที่เป็นสรรพสิ่งตามธรรมชาติและวิญญาณของอดีตฟาโรห์ โดยบูชาสัตว์ต่างๆ เช่น แมว สุนัข หมาใน วัว เหยี่ยว แกะ ฯลฯ เพราะเชื่อว่าสัตว์เหล่านั้นเป็นที่สิงสถิตของเทพซึ่งพิทักษ์มนุษย์ แต่เทพเจ้าที่เชื่อว่ามีอำนาจปกครองจักรวาลคือ เร หรือ รา (Re or Ra) ซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์และเป็นหัวหน้าแห่งเทพเจ้าทั้งปวง โอริซิส (Orisis) ซึ่งเป็นเทพแห่งแม่น้ำไนล์ผู้บันดาลความอุดมสมบูรณ์ให้แก่อียิปต์และเป็นผู้พิทักษ์ดวงวัญญาณหลังความตาย และไอซิส ซึ่งเป็นเทวีผู้สร้างและชุบชีวิตคนตาย และยังเป็นชายาของเทพโอริซิสอีกด้วย ชาวอียิปต์นับถือฟาโรห์ของตนเสมือนเทพเจ้าองค์หนึ่งและเชื่อว่าวิญญาณเป็นอมตะ จึงสร้างสุสานขนาดใหญ่หรือพีระมิดสำหรับเก็บร่างกายที่ทำให้ไม่เน่าเปื่อยด้วยวิธีการมัมมี่ เพื่อรองรับวิญญาณที่จะกลับคืนมา อนึ่ง ความเชื่อทางศาสนายังทำให้เกิดกาารบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อ และพิธีกรรมตามสถานที่ต่างๆ ที่สำคัญได้แก่คัมภีร์ของผู้ตายหรือคัมภีร์มรณะ (Book of The Dead) ซึ่งอธิบายผลงานและคุณความดีในอดีตของดวงวิญญาณที่รอรับการตัดสินของเทพโอริซิส บันทึกเหล่านี้ช่วยให้เข้าใจถึงวิถีชีวิตชาวอียิปต์และพัฒนาการของอารยธรรมด้านต่างๆ ได้ดี
กล่าวได้ว่า ศาสนามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมอำนาจการปกครองของสถาบันกษัตริย์อียิปต์ เป็นการสร้างความชอบธรรมให้แก่สถานะและอำนาจของฟาโรห์ นอกจากนี้ความเชื่อทางศาสนาของชาวอียิปต์ยังส่งเสริมให้เกิดความเจริญทางด้านวิทยาการด้านต่างๆ และศิลปกรรมอีกด้วย
ความเจริญด้านวิทยาการ ชาวอียิปต์สั่งสมความเจริญทางวิทยาการต่างๆ ให้แก่ชาวโลกหลายแขนง ที่สำคัยได้แก่ ควมาเจิญด้านดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ การแพทย์ และอักษรศาสตร์
ด้านดาราศาสตร์ เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ที่น้ำในแม่น้ำไนล์หลากท่วมล้นตลิ่ง เมื่อน้ำลดแล้วพื้นดินก็มีความเหมาะสมที่จะเพาะปลูก หลังจากชาวนาเก็บเกี่ยวพืชผลแล้วน้ำในแม่น้ำไนล์ก็กลับมาท่วมอีก หมุนเวียนเช่นนี้ตลอดไป ชาวอียิปต์ได้นำความรู้จากประสบการณ์ดังกล่าวไปคำนวณปฏิทิน นับรวมเป็น ปี มี 12 เดือน ในรอบ ปียังบ่งเป็น ฤดูที่กำหนดตามวิถีการประกอบอาชีพ คือ ฤดูน้ำท่วม ฤดูไถหว่าน และฤดูเก็บเกี่ยว
ด้านคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะการคำนวณขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การบวก ลบ และหาร และการคำนวณพื้นที่วงกลม สี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยม ความรู้ ดังกล่าวเป็นฐานของวิชาฟิสิกส์ ซึ่งชาวอียิปต์ใช้คำนวณในการก่อสร้างพีระมิด วิหาร เสาหินขนาดใหญ่ ฯลฯ
ด้านการแพทย์ มี ความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์มาก เอกสารที่บันทึกเมื่อ 1700 ปีก่อนคริสต์ศักราช ระบุว่าอียิปต์มีผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์หลายสาขา เช่น ทันตแพทย์ ศัลยแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ในสมัยนี้แพทย์อียิปต์สามารถผ่าตัดคนไข้แบบง่ายๆ ได้แล้ว นอกจากนี้ยังคิดค้นวิธีปรุงยารักษาโรคต่างๆ ได้จำนวนมาก โดยรวบรวมเป็นตำราเล่มแรก ซึ่งต่อมาถูกนำไปใช้กันแพร่หลายในทวีปยุโรป
ด้านอักษรศาสตร์ อักษรไฮโรกลิฟิกเป็นอักษรรุ่นแรกที่อียิปต์ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อประมาณปี 3100 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นอักษรภาพแสดงลักษณ์ต่างๆ ต่อมามีการพัฒนาตัวอักษรเป็นแบบพยัญชนะ ในระยะแรก ชาวอียิปต์จารึกเรื่องราวด้วยการแกะสลักอักษรไว้ตามกำแพงและผนังของสิ่งก่อ สร้าง เช่น วิหารและพีระมิด ต่อมาค้นพบวิธีทำกระดาษจากต้นปาปิรุส ทำให้มีการบันทึกแพร่หลายมากขึ้น ความก้าวหน้าทางอักษรศาสตร์จึงเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้ชาวโลก ทราบถึงความเจริญและความต่อเนื่องของอารยธรรมอียิปต์
ศิลปกรรม ศิลปกรรมของอียิปต์ที่โดเด่น ได้แก่ สถาปัตยกรรมและประติมากรรมซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ยังปรากฏหลักฐานและร่องรอยอยู่ในปัจจุบัน
สถาปัตยกรรม เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมอียิปต์คือพีระมิด ซึ่งสร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์ทางศาสนาและอำนาจทางการปกครอง ด้วยความเชื่อทางศาสนา ฟาโรห์ของอียิปต์จึงสร้างพีระมิดสำหรับหรับตนเอง สันนิษฐานว่า พีระมิดรุ่นแรกๆ สร้างขึ้นราวปี2770 ก่อนคริสต์ศักราช ความยิ่งใหญ่ของพีระมิดสะท้อนถึงอำนาจของฟาโรห์ ความสามารถในการออกแบบและก่อสร้างของชาวอียิปต์ เช่น พีระมิดแห่งเมืองกิซา (Giza) ซึ่งใช้แรงงานคนถึง 100000 คน ทำการก่อสร้างพีระมิดขนาดความสูง 137 เมตร เป็นเวลานานถึง 20 ปี โดยใช้หินทรายตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยม น้ำหนักขนาด 2.2-2.5 ตัน รวมประมาณ ล้านก้อนเป็นวัสดุก่อสร้าง
นอกจากพีระมิดแล้ว อียิปต์ยังสร้างวิหารจำนวนมาก เพื่อบูชาเทพเจ้าแต่ละองค์และเทพประจำท้องถิ่นภายในวิหารมักจะประดับด้วยเสาหินขยาดใหญ่ซึ่งแกะสลักลวดลายอย่างงดงาม วิหารที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของอียิปต์ ได้แก่ วิหารแห่งเมืองคาร์นัก (Karnak) และวิหารแห่งเมืองลักซอร์ (Luxor)
ประติมากรรม ชาวอียิปต์สร้างผลงานประติมากรรมไว้จำนวนมาก ทั้งที่เป็นรูปปั้นและภาพสลัก ส่วนใหญ่ประดับอยู่ในพีระมิดและวิหาร ที่พบในพีระมิดมักเป็นรูปปั้นของฟาโรห์และมเหสี ภาพสลักที่แสดงถึงเรื่องราวต่างๆ และวิถีชีวิตของชาวอียิปต์ ส่วนในวิหารมักเป็นรูปปั้นสัญลักษณ์ของเทพและสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือ เช่น สุนัข แมว เหยี่ยว ฯลฯ และภาพสลักที่แสดงเรื่องราวและเหตุการณ์

จิตรกรรม ชาวอียิปต์มีผลงานด้านจิตรกรรมจำนวนมาก มักพบในพีระมิดและสุสานต่างๆ ภาพวดของชาวอียิปต์ส่วนใหญ่มีสีสันสดใส มีทั้งภาพสัญลักษณ์ของเทพเจ้าที่ชาวอียิปต์นับถือ พระราชกรณียกิจของฟาโรห์และสมาชิกในราชวงศ์ ภาพบุคคลทั่วไปและภาพ ที่สะท้อนวิถีชีวิตของชาวอียิปต์ เช่น การประกอบเกษตรกรรม
ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจทำให้จักรวรรดิอียิปต์มั่นคงก้าวหน้าต่อเนื่องเป็นเวลา หลายพันปี และเป็นพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจอียิปต์ปัจจุบัน ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของอียิปต์ประกอบด้วยเกษตรกรรม พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม
เกษตรกรรม เป็น รากฐานทางเศรษฐกิจของจักรวรรดิอียิปต์ ประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่อาศัยน้ำจากแม่น้ำไนล์ในการเพาะปลูก ทำให้มีการคิดค้นระบบชลประทน ทำคลองส่งน้ำจากแม่น้ำไนล์เข้าไปยังพื้นที่ที่ห่างจากฝั่ง ระบบชลประทานจึงเป็นเทคโนโลยีสำคัยที่ช่วยให้เกษตรกรอียิปต์ดำเนินการเพาะ ปลูกพืชสำหรับบริโภคภายในจักรวรรดิและพืชเศรษฐกิจอื่นๆได้ต่อเนื่อง ไม่ต้องละทิ้งถิ่นฐานไปแสวงหาดินแดนที่อุดมสมบูรณ์มากกว่า อนึ่ง ผลิตผลทางเกษตรที่สำคัญของชาวอียิปต์ ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ผัก ผลไม้ ปอ และฝ้าย
พาณิชยกรรม จักรวรรดิอียิปต์ติดต่อค้าขายกับดินแดนอื่นๆ ตั้งแต่ประมาณ 2000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ดินแดนที่ติดต่อค้าขายเป็นประจำ ได้แก่ เกาะครีต (Crete) และดินแดนเมโสโปเตเมีย โดยเฉพาะฟีนิเชีย ปาเลสไตน์ และซีเรีย สินค้าส่งออกที่สำคัญของอียิปต์คือ ทองคำ ข้าวสาลี และผ้าลินิน ส่วนสินค้าที่นำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ แร่เงิน งาช้าง และไม้ซุง
อุตสาหกรรม อียิปต์เริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมตั้งแต่ประมาณ 3000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมของอียิปต์เติบโตคือ การมีช่างฝีมือและแรงงานจำนวนมาก มีเทคโนโลยีและวิทยาการที่ก้าวหน้า มีวัตถุดิบ และมีการติดต่อค้าขายกับดินแดนอื่นๆ อย่างกว้างขวาง ดังนั้นอียิปต์จึงสามารถพัฒนาระบบอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าได้จำนวนมาก อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การทำเหมืองแร่ การต่อเรือ การทำเครื่องปั้นดินเผา การทำเครื่องแก้ว และการทอผ้าลินิน
ความรุ่งเรืองมั่งคั่ง ทำให้จักรวรรดิอียิปต์สามารถสั่งสมและหล่อหลอมอารยธรรมของตนให้เจริญก้าว หน้าต่อเนื่องมายาวนาน ดินแดนอียิปต์จึงเป็นที่หมายปองของประเทศเพื่อนบ้านที่พยายามขยายอิทธิพล เข้าครอบครองดินแดนแห่งนี้ อย่างไรก็ตาม แม้จักรวรรดิอียิปต์เสื่อมสลายไปในช่วงก่อนคริสต์ศักราชแล้ง แต่อารยธรรมอียิปต์มิได้เสื่อมสลายไปด้วย หากกลายเป็นมรดกตกทอดที่ชนรุ่นหลังนำมาพัฒนาเป็นอารยธรรมของมนุษยชาติในปัจจุบัน


อ้างอิงจาก