ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่แห้งแล้งทำให้ชนชาวพม่ามีความอดทนและทะเยอทะยาน หัวรั้น ชาวอังกฤษที่เคยเข้ามาปกครองพม่าเคยกล่าวไว้ว่า ชนชาติพม่าเป็นชนชาติที่ ปกครองได้ยากที่สุดในเอเชีย และหัวดื้อรั้นที่สุด
ในสมัยโบราณ พม่ามีกองทัพที่เข้มแข็งมาก แต่ถ้าพม่ามายุ่งกับไทยเมื่อไหร่เป็นอันต้องฉิบหายอย่างแน่นอน อันนี้เป็นคำกล่าวที่ฝรั่งผมจำไม่ได้ว่าเป็นใคร ฝรั่งคนนี้ช่วงนั้นเค้าอยู่ในพม่า
การที่พม่ามีกองทัพที่เข้มแข็งเพราะพม่าได้ก่อร่างสร้างประเทศมาก่อนสยามเป็นเวลานานอยู่เหมือนกัน

อ่านเรื่องราวประวัติศาสตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว จะพบว่าไทยกับพม่านั้นต้องทำสงครามกันอยู่หลายครั้ง ทั้งสงครามเล็กๆ และสงครามใหญ่ขนาดชิง บ้านเมืองกันเลยทีเดียว เรามาดูกันดีกว่าว่าการรบสมัยนั้นมีสาเหตุมาจาก อะไร แล้วคนในสมัยก่อยเขารบกันอย่างๆไร
สาเหตุของความขัดแย้งและการรบกันในสมัยก่อนนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับในสมัยนี้ เนื่องจากสภาพความเป็นอยู่, การปกครอง และความเป็นอยู่ใน สมัยนั้นสาเหตุของสงครามในสมัยกรุงศรีอยุธยา1. ความต้องการพลเมือง
การรบในตอนนั้นไม่ใช่เพราะต้องการดินแดน เพราะแต่ละเมืองทั้งไทยและพม่าต่างก็มีดินแดนกว้างขวาง แต่พม่ากลับขาดพลเมืองที่จะเข้าไปทำกินและสร้างผลิตผลต่างๆ จึงมีการทำสงครามเพื่อกวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลยใช้งานต่างๆ (อย่างนายขนมต้มและพวกพ้องโดนกวาดต้อนไปอยู่ที่พม่าหลังเสียกรุงไงครับ)

3. อาณาจักรล้านนา..จุดแข่งขันระหว่างไทยกับพม่า
แม้ว่าอณาจักรล้านนาจะไม่ได้มีข้อขัดแย้งกับไทยโดยตรง แต่หลายครั้งที่การรบของไทยและพม่าเกิดขึ้น เพราะต้องการแย่งชิงอาณาจักรล้านนา เหมือนกับอาณาจักรนี้เป็นสาวงาม ใครได้มาครอบครองก็....ดีใจไป

4. การเมืองที่รุนแรงของพม่า
การเมืองของพม่านั้นรุนแรงและน่ากลัวมาก พอมีกษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นมา ก็ต้องแสดงความน่ากลัวให้ข้าราชการและเหล่าเมืองขึ้นได้เห็น กรุงศรีอยุธยาก็เป็นด่านทดสอบความ สามารถของกษัตริย์ที่ดีที่สุด ดังนั้นพอพม่าผลัดเปลี่ยนอำนาจเมื่อไหร่ เราก็เตีรยมตั้งทัพรอรับได้เลย...เกิดสงครามแน่ๆ
5. เพราะช้างเผือกในความเชื่อของชาวอุษาคเนย์ มาจากเรื่อง พระเวสสันดร กล่าวว่า ช้างเผือกนั้นเป็นสัตว์มงคลที่หาได้ยากยิ่ง และเป็นสัตว์มีบุญญาธิการ ดั่งผู้มีบุญบารมีมาเกิดเสวยชาติเป็นช้างและผู้ที่จะครอบครองได้ต้องเป็นคนที่มีบุญบารมีมาก หากกษัตริย์ได้ครอบครองอยู่นั้น บ้านเมืองจะรุ่งเรือง ดั่งนั้น พม่าเห็นว่าไทยมีช้างเผือกเยอะ ผู้คนจะกล่าวขานว่า ชาวอโยธยามีบุญกว่าพม่า จึงไปขอ เมื่อไม่ได้ก็เป็นเหตุให้รบกัน(และสามารถเอาเรื่องนี้หาเรื่องได้)
ข้อดีของพม่า
นักประวัติศาตร์หลายคนกล่าวไว้ว่า
การที่พม่าเป็นประเทศอยุ่ทางมหาสมุทรอินเดียและมีพรมแดนติดกับจีนทางทิศเหนือ
ทำให้ทางสยามประเทศรอดพ้นจากภัยร้ายที่คุกคามประเทศอยู่หลายครั้ง
1. ไม่ว่าจะเป็นศึกหนักกับทางจีน ที่ทางพม่าเองก็ต้องต่อสู้รบกับจีนอยู่หลายครั้ง
และครั้งที่พม่าภูมิใจมากคือครั้งที่เนเมียวสีหบดีแม่ทัพพม่าสามารถเอาชนะกองทัพแมนจูราชวงศ์ชิงของจีนได้
การศึกที่ติดพันของพม่ากับจีนนั้นทำให้ทางฝ่ายพม่าไม่มีโอกาสทำสงครามกับฝ่ายไทย
2.ศึกชายแดนระหว่างชนกลุ่มน้อยของพม่า การที่พม่าปราบชนกลุ่มน้อยไม่ว่าจะเป็นไทยใหญ่ ยะไข่ หรืออื่น ๆ ทำให้ไม่มีเวลารบกับฝ่ายไทย
3.การศึกสมัยมองโกลของพระเจ้ากุปไลข่าน ช่วงที่กองทัพมองโกลยิ่งใหญ่เกรียงไกรก็กรีธาทัพลงใต้เรื่อยมา
กองทัพม้ามองโกลเข้ามาทางตอนเหนือของพม่าและสามารถเอาชนะกองทัพพม่าได้อย่างง่ายดาย
พวกมองโกลบุกปล้นเผาทำลายเจดีย์ของชาวพุทธของพม่าไปนับหมื่นเจดีย์แล้วล่าถอยกลับไป ถ้าไม่มีกองทัพพม่าเป็นกำแพงไว้ทางไทยก็ต้องพลอยรับศึกไปด้วย
4.การมีอาณาเขตติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย จากจารึกในอดีตของนักเดินเรือชาวฝรั่งโปตุเกส ฮอลันดาและอังกฤษที่มาติดต่อค้าขายในดินแดนแถบนี้และบันทึกในประวัติศาสตร์กล่าวถึงดินแดนสุวรรณภูมิที่มีความเจริญมั่งคั่ง
เอาไว้ว่าเป็นดินแดนที่ถัดเข้ามาจากปากแม่น้ำซึ่งอยู่ไม่ไกลจากทะเลในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งจากบันทึกดังกล่าวทำให้ทราบว่า
ดินแดนสุวรรภูมิที่อุดมสมบูรณ์นั่นก็คือเมืองพะโค๊ะหรือพม่าในปัจจุบัน ไม่ได้อยู่ลึกเข้ามาจนถึงสยามประเทศ
ทำให้พ่อค้านักเดินเรือรวมถึงทาสชาวอินเดียต้องมาติดต่อทีนี่และบางครั้งก็มีศึกกับทางนี้ด้วยแทนที่สยามประเทศจะรับศึกฝั่งนี้ก็มีพม่าเป็นแนวกันชน
พม่ามองเรา
พม่ามองเราอย่างหวาดระแวงครับ หนังสือเรียนประวัติศาสตร์ของพม่ามีบทใหญ่ที่มีชื่อบทว่า มหาโยธยา
ซึ่งก็คือ ไทย
ในบทนี้จะเขียนเล่าประวัติศาสตร์ของไทยเรา รวมทั้งลักษณะนิสัย ส่วนมากมันจะเขียนด่ามากกว่าเขียนชมครับ
จากบทนี้เราจะรู้ว่าพม่ามองไทยว่าเป็นประเทศจักรวรรดินิยมครับ และในบทนี้ก็กล่าวถึงความสัมพันธ์ของไทย-พม่าตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันครับ โดย ฝ่ายพม่าจะเขียนโจมตีไทยว่าเป็นต้าเหตุแห่งปัญหา
จนทำให้พม่าประสบปัญหายุ่งยากตลอดมา
เอาตอนที่1 ก่อนเลยครับ
1/ก. กำเนิดประเทศโยดะยา
ในเวลาที่ประเทศเมียนมายุคแรกก่อตั้งโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่พุกามในประเทศเมียนมานั้น ชนชาติไต ในแผ่นดินที่เรียกว่าโยดะยาเพิ่งก่อตั้งได้เพียงระบบเมืองยังไม่ถึงกับเกิดเป็นประเทศ ในตอนต้นคริสตศตวรรษชาวไตที่เป็นกลุ่มหลัก
ได้อาศัยอยู่ในมณฑลยูนนานจนในราว คริสต์ศตวรรษที่ 6 จึงได้ก่อตั้งอาณาจักรน่านเจ้าขึ้น
ใน คริสตศตวรรษที่13 พวกมองโกลได้ยึดตาลีเมืองหลวงของพวกน่านเจ้า ชาวไตส่วนใหญ่ได้เคลื่อนย้ายมาอาศัยยังลุ่มนํ้าเจ้าพระยา
ที่อุดมสมบูรณ์ พวกน่านเจ้าที่เข้ามาถึงลุ่มนํ้าเจ้าพระยาและแม่นํ้าโขงได้ตั้งเมืองที่เรียกว่าเชียงแสน เชียงราย และสุโขทัย
ในสมัยรามคำแหงกษัตริย์สุโขทัยจึงได้มีความเจริญรุ่งเรือง
หลังจากที่สิ้นรามคำแหงลง ได้เกิดผู้นำที่สามารถคนหนึ่ง ขึ้นมา ณ แม่นํ้าตอนล่าง ผู้นั้นได้ร่วมมือกับพวกมอญซึ่งอยู่ด้านใต้ ยึด
ลวะปุระ ไว้ได้ในปี ค.ศ.1350 รามาธิบดีหรือ อู่ทอง ได้ตั้งอยูธยาขึ้น ห่างจากลวะปุระ 50ไมล์ ความหมายของอยุธยามีว่าเผด็จศึกไม่ได้
แต่ด้วยชาวเมียนมา ได้เรียกชาวอยุธยาว่า ยุธยะ อันหมายความว่าประเทศที่ถูกเผด็จศึก จึงได้กลายมาเป็นประเทศโยดะยาในภายหลัง
1/ข. บุคลิคลักษณะของชาวโยดะยา
ชาวโยดะยาเป็นผู้ที่หลงใหลในความงาม จิตใจที่อยากจะพึ่งตนเองมีน้อย การที่จะทำงานตรากตรำกีมีความใส่ใจน้อย
เมื่อต้องเผชิญกับสงครามการขยายอาณานิคมของพวกตะวันตก ก็ไม่มีจิตใจที่จะทำศึกต่อต้าน กลับคบหาคล้อยตามไป กษัตรย์โยดะยา
ก็ได้มีสัมพันธ์โอนอ่อนต่อมหาประเทศยุโรปจากตะวันตก เพื่อรักษาราชบํลลังค์ให้มั่นคง
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่1 ก็เข้ากับฝ่ายมหามิตร ในสมัยสงครามโลกครั้งที่2 ในช่วงแรกของสงครามที่ญี่ปุ่นได้เปรียบก็ไปเข้ากับญี่ปุ่น พอญี่ปุ่นแพ้สงครามก็กลับไปเข้าหาฝ่ายมหามิตรอีก
พอสิ้นสงครามโลกครั้งที่2 ก็แอบอิงอยู่ใต้ร่มคุ้มกันของอเมริกันเมื่ออเมริกาพ่้ายแพ้ในสงครามเวียดนามก็หันไปใกล้ชิดกับจีน
ชาวโยดะยามักรับความคุ้มครองโดยยอมเป็นลูกน้องของมหาประเทศ เพื่อให้ประเทศของตนปลอดภัย จึงกล่าวได้ว่านโยบายต่างประเทศของโยดะยาเป็นนโยบายที่โอนเอนลู่ลม
คือสรุปแล้วพม่ามองไทยแบบ ผู้รุกราน และ ผู้ไร้สัจจะ ผู้ร้าย พวกจักรวรรดินิยม และว่า ไทยไม่ใช่เพื่อนบ้านที่น่าไว้วางใจครับ
แบบเรียนนี้เป็นแบบเรียนระดับประถม ม.ต้นและม.ปลาย ของพม่าครับ
อ้างอิงจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น